Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/397
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกนกพร นทีธนสมบัติ-
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ กสิผล-
dc.contributor.advisorKanokporn Nateetanasombat-
dc.contributor.advisorTaweesak Kasiphol-
dc.contributor.authorชลธิดาวรรณ เด่นไชยรัตน์-
dc.contributor.authorCholthidawan Denchairat-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-06-09T14:06:14Z-
dc.date.available2022-06-09T14:06:14Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/397-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของชูคัพ (Soukup, SM. 2000) การศึกษามี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ โดยได้สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ได้ ทั้งหมด 20 เรื่อง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ระดับ 1 จำนวน 2 เรื่อง ระดับ 2 จำนวน 3 เรื่อง ระดับ 3 จำนวน 4 เรื่อง ระดับ 4 จำนวน 1 เรื่อง และระดับ 5 จำนวน 10 เรื่อง ผู้วิจัยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประกอบด้วย การประเมินพฤติกรรม การควบคุมด้านอาหาร การออกกำลังกาย และการประเมินความเครียด ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ที่สร้างขึ้นนี้ พยาบาลได้ให้สมุดบันทึกแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ เพื่อใช้บันทึกการรับประทานอาหาร คำนวณแคลอรี่ที่ควรได้รับในแต่ละวันตามน้ำหนักตัวของแต่ละคน การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ บันทึกการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมติดต่อกันครั้งละ อย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และบันทึกกิจกรรมการจัดการความเครียดติดตามอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์เป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นเยี่ยมบ้านและประเมินระดับน้ำตาลปลายนิ้วหลังงดอาหาร 8-10 ชั่วโมง ในสัปดาห์ที่ 2,4,6 และ 8 ระยะที่ 2 ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน จำนวน 20 คน ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมด้านอาหารและการออกกำลังกายมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ด้านการประเมินความเครียด พบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีคะแนนระดับความเครียดน้อย จำนวน 20 คน และหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ จำนวน 16 คน มีระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วขณะอดอาหาร 8-10 ชั่วโมง น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรth
dc.description.abstractThis research aimed to develop and study the effect of nusring practice guideline for type 2 diabetes mellitus patients with uncontrolled blood sugar in the community. The evidence-based practice model of Soukup (2000) had been applied in this study. The results could divide into 2 phases. First phase was the development of nursing practice guideline, which twenty related articles had been used. There were two articles in the first level of evidence based, three articles in the second level of evidence based, four articles in the third level of evidence based, one article in the fourth level of evidence bases, and ten articles in the fifth level of evidence based. The researcher analyzed all data in order to develop nursing practice guideline, which consisted of behavioral assessment due to diet control, exercise, stress assessment. For this nursing practice guideline, nurses provided memory book for type 2 diabetes mellitus patients with uncontrolled blood sugar in order to record all diet and calculate appropriated calories each day according their own weight. The records also included five nutrients, approptiated exercise at less thirty minutes, and at less three days, stress management activities in each day. Nursese continued calling every day for follow up activities. After that, nurses would have a home visit and assess finger-stick blood sugar level at two weeks, four weeks, six weeks, and eight weeks. Second phase was the results of applying nursing practice guideline, which the sample were twenty type 2 diabetes mellitus patients with uncontrolled blood sugar. The results had been found that after applying nursing practice guideline, the score on controlling diet and exercise behavior were significantly higher at 05. Also, stress assessment was found that twenty type 2 diabets mellitus patients with uncontrolled blood sugar were in low level of stress after applying nursing guideline. After applying nursing practice guidelines, sixteen type 2 diabetes mellitus patients with uncontrolled blood sugar had finger-stick blood sugar level during fasting 8-10 hours less than 200 mg/dL.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน -- ผู้ป่วยth
dc.subjectNon-insulin-dependent diabetes -- Patientsth
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวานth
dc.subjectDiabeticsth
dc.subjectน้ำตาลในเลือดสูงth
dc.subjectHyperglycemiath
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth
dc.subjectHealth behaviorth
dc.subjectน้ำตาลในเลือด -- การควบคุมth
dc.subjectBlood sugar -- Controlth
dc.subjectDiabetes Mellitus, Type 2th
dc.titleการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชนth
dc.title.alternativeDevelopment of Nursing Practice Guideline for Type 2 Diabetes Mellitus Patients with Uncontrolled Blood Sugar in Communityth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHOLTHIDAWAN-DENCHAIRAT.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.