Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกนกพร นทีธนสมบัติ-
dc.contributor.advisorหทัยชนก บัวเจริญ-
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ กสิผล-
dc.contributor.advisorKanokporn Nateetanasombat-
dc.contributor.advisorHathaichanok Buajaroen-
dc.contributor.advisorTaweesak Kasiphol-
dc.contributor.authorจริยา ทรัพย์เรือง-
dc.contributor.authorJariya Supruang-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-06-09T14:54:51Z-
dc.date.available2022-06-09T14:54:51Z-
dc.date.issued2010-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/401-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553th
dc.description.abstractการวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่่ 2 สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน การดำเนินการศึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การกำ หนดโครงสร้างและองค์ประกอบของแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พร้อมกับวิเคราะห์ความหมายของปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และกำหนดองค์ประกอบในโครงสร้างของแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 2) การหาคุณภาพของแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหา (CVI) ของแบบประเมินพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วนเท่ากับ 0.80 พฤติกรรมด้านการขาดการออกกำลังกายเท่ากับ 0.80 และพฤติกรรมด้านความเครียดเท่ากับ 0.83 ส่วนการตรวจสอบความเที่ยงพบว่า ค่าคะแนนความเที่ยงรวมเท่ากับ 0.79 และค่าคะแนนความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วนเท่ากับ 0.77 พฤติกรรมด้านการขาดการออกกำลังกายเท่ากับ 0.80 พฤติกรรมด้านความเครียดเท่ากับ 0.83 3) การวิเคราะห์และสรุปรูปแบบโครงสร้างและองค์ประกอบของแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในชุมชนหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลบางกระเบา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 245 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การวัดความดันโลหิต การหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) การวัดเส้นรอบเอว การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องการบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วน การขาดการออกกำลังกายและความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เส้นรอบเอว (r=0.288) ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค (r=0.234) อายุ (r=0.224) ค่าดัชนีมวลกาย (r=0.208) และการบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วน (r=0.137) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ เส้นรอบเอว ความดันโลหิตซิสโตลิค และการบริโภคอาหาร ไม่ได้สัดส่วน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (Beta) เท่ากับ 0.288, 0.175 และ 0.130 ตามลำดับ ปัจจัยทั้งสามรวมกันมีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R[square]) เท่ากับ 0.129 ผู้วิจัยได้นำปัจจัยทั้งสามมาสร้างแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยได้นำค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานของแต่ละปัจจัยมาคำนวณเพื่อหาค่าถ่วงน้ำหนักความเสี่ยง และแบ่งระดับความเสี่ยงเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 มีความเสี่ยงต่ำ หมายความว่าผู้ให้บริการต้องให้คำแนะนำและติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้บริการเป็นระยะ ระดับที่ 2 มีความเสี่ยงปานกลาง หมายความว่า ผู้ให้บริการต้องให้คำแนะนำและติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ และระดับที่ 3 มีความเสี่ยงสูง หมายความว่า ผู้ให้บริการต้องให้คำแนะนำและติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้บริการอย่างใกล้ชิด พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรนำแบบประเมินไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไปใช้ในการประเมินและคัดกรองผู้รับบริการที่อาศัยในชุมชน เพื่อวางแผนป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แก่บุคคล กลุ่มคนและชุมชนต่อไปth
dc.description.abstractThe objective of the descriptive research was aimed to develop the risk assessment tool for type-2 diabetes for community nurse practitioners. This research consisted of three steps : 1) framing structures and components of the risk assessment tool for type-2 diabets, which was developed by reviwing the relevant literatures, analyzing meaning of risk factors influencing type-2 diabetes, and determining the components of risk assessment tool for type-2 diabets. 2) determining the quality of the risk assessment tool for type-2 diabetes which was occured by using the content validity index (CVI). It was found that content validity index (CVI) was 0.80, 0.80, 0.83 for unbalanced diet, lack of exercise, and stress, respectively. Regarding to reliability, the overall reliability was 0.79 while it represented 0.77, 0.78, and 0.83 for unbalances diet, lack or exercise, and stress, respectively, and 3) analzing and summarizing the model of struture and components of risk assessment tool for type-2 diabetes. There were two hundred fourty five sample in this study. These samples were male and female risky people, who were over thrity-five years old. They resided in the community Moo.1 and Moo.2, Bangkrabao, Nakornchaisri, Nakornprathom Province. Data collection was conducted by interviewing, measuring bolld pressure, calculating the body mass index (BMI), measuring waistline, and evaluating the risky behavior of unbalanced diet, lack of exercise, and measuring stress. The descriptive statistics, Pearson's Correlation analysis and Multiple Regression Correlation were used in this study. The results found that factors significantly assoicated with blood suagr included waistline (r=0.288), systolic blood pressuire (r=0.234), age (0.234), BMI (r=0.208), anf unbalance diet = (r=0.37). The analysis of Multiple Regession showed that the potential predictive factors blood sugar included waistline (β=0.288), systolic blood pressure (β=0.175), and unbalanced deit (β =0.130)> All three factors provided the predictive coefficient R[square] = 0.129. The researcher employed all theses factors to develop the risk assessment tool for type-2 diabets. Each factor had been calculated to weight the risk by the standard coefficient. The risk was divided into three levels. First level was low risk of type 2 diabetes, which meant the healthcare provider the suggestion and follower up behavioral alteration periodically. Second level was moderate risk of type-2 diabetes, which meant the healthcare provider provided the suggestion and followed up behavioral alteration regularyly. Finally, third level was high risk of type-2 diabets, which meant the healthcare provider provided the suggestion and followed up behavioral alteration closely. Community nurse practitioner should apply this risk assessment tool for type-2 diabetes in order to assess and screen all clients in the community. Moreover, community nurse practice could be able to plan for prevention and reduce the risk of type-2 diabetes for individual, group, and community.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการประเมินความเสี่ยงth
dc.subjectRisk assessmentth
dc.subjectเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินth
dc.subjectNon-insulin-dependent diabetesth
dc.subjectDiabetes Mellitus, Type 2th
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
dc.title.alternativeDeveloping of a Risk Assessment Tool for the Risky Group with Type 2 Diabetes for Community Nurse Practionersth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf288.74 kBAdobe PDFView/Open
Tebleofcontents.pdf233.72 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf229.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf379.5 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf287.75 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf504.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf221.39 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf201.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.