Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ กสิผล-
dc.contributor.advisorนพนัฐ จำปาเทศ-
dc.contributor.advisorTaweesak Kasiphol-
dc.contributor.advisorNopphanath Chumpathat-
dc.contributor.authorกรวิกรานต์ วิหก-
dc.contributor.authorKronwikran Wihok-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-06-09T15:25:55Z-
dc.date.available2022-06-09T15:25:55Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/404-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Description research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จำแนกตามเพศ อายุ ประวัติการหกล้มภายใน 1 ปีดัชนีมวลกาย ความสามารถในการทรงตัว ความมั่นใจในการทรงตัว ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 280 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามทั้งหมด 5 ส่วนซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและหาค่าความเชื่อมั่นด้วยการทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค ได้เท่ากับ 0.73, 0.80, 0.90, 0.98, 0.94 และ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ความสามารถในการทรงตัว ความมั่นใจในการทรงตัว และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ มัธยฐาน และควอไทล์ ที่ 1-3 เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มด้วยสถิติ Mann-Withney U และ Kruskal-Wallis test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยสถิติ Spearman's rho และเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 94.29 การเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มจำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ และประวัติการหกล้ม พบว่า เพศที่ต่างกันมีค่ากลางพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z=2.39, p=.021) โดยเพศชายมีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มมากกว่าเพศหญิง และการเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มจำแนกตามระดับดัชนีมวลกาย ความมั่นใจในการทรงตัวและความสามารถในการทรงตัวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่า ระดับความมั่นใจในการทรงตัว ที่ต่างกัน มีค่ากลางของพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p=<0.001) ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่า ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .05 (r=0.14, p=0.02)th
dc.description.abstractThe purpose of this desrciptive research were to study the preventive behaviors of Osteoarthritis patients, and to study factors such as sex, age, body mass index, severity of Osteoarthritis, fall history, balance ability, and the confidence in balancing which was related to the fall preventive behavior of Osteoarthritis patients in Wat Salut community, Bang Phli district, Samut Prakan province. The samples were the number of 280 knee osteoarthritis patients. The tool consists of 5 questionnaires. These questionnaire passed examination by 3 experts. They passed the content validity checking. Realiability of the questionnaires were examined using Cronbach's Alpha Coefficient at 0.73, 0.80, 0.90, 0.94 and 0.77. Data analysis by descriptive statistics such as frequency, median and quartiles 1-3. Comparison fall prevention behaviors by using Mann-Withney U, Kruskal-Wallis test, and correlation between Osteoarthritis severity, and fall preventive behaviors of Osteoarthritis severity, and fall preventive behaviors of Osteoarthritis patients by using Spearman's rho. Data were collected between March-May 2020. The results showed that fall preventive behavior (94.29%) were a high level. The comparison of fall prevention behavior classified gender, age group, and fall history, was found that the different genders had the mean of fall prevention behavior statistical significance (Z=2.39, p=.021) Males had fall prevention behaviors more than female. A comparison of fall preventive behavior classified by body mass index, postural confidence and balance ability by using statistics Kruskal-Wallis test found that different levels of confidence in balance, there are significant differences in the mean values of fall prevention behaviors with statistical significance .01 (p=<0.001). Correlation analysis betweeb Osteoarthritis severity, and fall preventive behavior of Osteoarthritis found that Osteoarthritis severity had negative correlation with fall prevention behavior at the level .05 statistical significance (r=0.14, p=0.02).th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectข้อเสื่อม -- ผู้ป่วยth
dc.subjectOsteoarthritis -- Patientsth
dc.subjectการทรงตัวth
dc.subjectEquilibrium ‪(Physiology)‬th
dc.subjectการหกล้มth
dc.subjectFalls (Accidents)th
dc.subjectชุมชนวัดสลุด (สมุทรปราการ)th
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeFactors Related to Fall Prevention Behaviors of Patients with Knee Osteoarthritis in Watsalud Community Bang Phli District, Samut Prakan Provinceth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KRONWIKRAN-WIHOK.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.