Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4311
Title: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น บางเสาธง สมุทรปราการ
Other Titles: The Development of Training Curriculum to Promote Creative Media Creation Skills from Local Cultural Capital of Bang Sao Thong District, Samut Prakan Province
Authors: ปทุมมา บําเพ็ญทาน
วุฒิพงษ์ ทองก้อน
รัตนา ทิมเมือง
Patumma Bumpentan
Wuthipong Thongkon
Ratana Timmuang
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts
Keywords: ทุนทางวัฒนธรรม
Cultural capital
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
Digital media
การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ) – การฝึกอบรม
Creation (Literary, artistic, etc.) --Training of
บางเสาธง (สมุทรปราการ)
Bang Sao Thong (Samut Prakan)
Issue Date: 2025
Citation: วารสารศิลปศาสตร์วิชาการและวิจัย 20,1 (มกราคม-มิถุนายน 2568) : 1-19
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นบางเสาธง สมุทรปราการและ 2) ศึกษาผลการใช้และนําเสนอหลักสูตรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบ่งการดําเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 สัมภาษณ์ผู้อํานวยการโรงเรียนและสอบถามความต้องการจําเป็นในการพัฒนาหลักสูตรกับครูกลุ่มบางเสาธงโดยนําข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้หลักสูตรกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนกลุ่มบางเสาธง จํานวน 29 คน และนําเสนอข้อมูลหลักสูตรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ผู้อํานวยการต้องการให้พัฒนาหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณี ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ครูกลุ่มบางเสาธงเห็นว่าควรกําหนดจุดมุ่งหมายให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มีความรู้และร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมบางเสาธงจากนั้นนําข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นหลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วยแนวคิด จุดมุ่งหมายการเรียนรู้เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลโดยหลักสูตรพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด "สื่อสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม" ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นบางเสาธงกับการสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่มในรูปแบบใหม่ ๆ ตอบสนองต่อบริบทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลกําหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้เพื่อสร้างเจตคติที่ดีและมีทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรม โดยกําหนดแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 10 กิจกรรม กิจกรรมละ 3 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ในอําเภอบางเสาธง การเป็นผู้ประกอบการจากทุนทางวัฒนธรรม และฝึกทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์ จากนั้นนําหลักสูตรไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 การวิจัย ระยะที่ 2ผลการใช้หลักสูตรกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนกลุ่มบางเสาธง จํานวน 29 คน พบว่านักเรียนได้สร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล วีดิทัศน์ ตราสัญลักษณ์ ลวดลาย และผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรม ผลการวัดเจคตติต่อท้องถิ่นของนักเรียนภายหลังที่เข้าร่วมฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.23) คะแนนประเมินทักษะและผลงานสื่อสร้างสรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.68) ผู้วิจัยได้นําเสนอหลักสูตรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมในการนําหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้อย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.85) และคะแนนประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมประชุมคืนข้อมูลการใช้หลักสูตรภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.90) โดยมีคะแนนประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ
The purpose of this research was to1) develop a training curriculum to promote creative media creation skills based on the local cultural capital of Bang Sao Thong, Samut Prakan, and2) examine the implementation outcomes of the curriculum and present the curriculum to stakeholders. The research was conducted in two phases. Phase 1 involved interviews with school directors and surveying the curriculum development needs of teachers from the Bang Sao Thong group. The data collected were analyzed and synthesized to develop the training curriculum. Phase 2 focused on evaluating the curriculum implementation with 29 lower secondary school students from the Bang Sao Thong group. The curriculum was subsequently presented to stakeholders for review. The results of Phase 1 indicated that school directors expressed a need for a curriculum emphasizing the learning of art, culture, local wisdom, and traditional practices, with an emphasis on hands-on student engagement. Teachers in the Bang Sao Thong group suggested that the curriculum’s objectives should foster students’ pride, knowledge, and participation in preserving Bang Sao Thong’s cultural heritage. Based on these insights, the curriculum was designed and structured to include key components such as the conceptual framework, learning objectives, content, learning activities, instructional media, and assessment and evaluation methods. The curriculum was developed under the concept of "Creative Media from Cultural Capital," which focuses on integrating the local wisdom of Bang Sao Thong into media and product creation. This approach seeks to add value to cultural capital in innovative ways, aligning with the context of the digital creative economy. The curriculum’s learning objectives were set to promote positive attitudes and equip students with creative media production skills grounded in cultural capital. The curriculum comprised 10 learning activities, each lasting three hours, totaling 30 hours. These activities allowed students to explore both tangible and intangible cultural capital in Bang Sao Thong, develop entrepreneurial skills related to cultural capital, and practice creative media production. Subsequently, the curriculum was submitted for evaluation by three experts, who assessed its appropriateness. The Index of Item-Objective Congruence (IOC) ranged from 0.60 to 1.00, indicating an acceptable level of alignment between the curriculum components and objectives. The results of Phase 2, which involved the implementation of the curriculum with 29 lower secondary school students from the Bang Sao Thong group, demonstrated that students successfully created various forms of creative media products, including digital print media, videos, logos, patterns, and culture-based products. The overall assessment of students’ attitudes toward their local community after participating in the training was at the highest level (x̅= 4.23). Moreover, the evaluation of students' creative media production skills and outputs was rated at the highest level (x̅= 4.68). The curriculum was then presented to stakeholders, and the evaluation of the curriculum’s suitability for sustainable implementation was rated at the highest level (x̅= 4.85). Furthermore, the satisfaction level regarding the feedback session on curriculum implementation was also rated at the highest level (x̅= 4.90), with all individual evaluation items scoring at the highest level.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full Text) ได้ที่ : https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/275130/187986
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4311
Appears in Collections:Communication Arts - Articles Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Development-of-Training-Curriculum-to-Promote-Creative-Media-Creation-Skills .pdf114.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.