Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4321
Title: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้านในโรงพยาบาลบางนา 1
Other Titles: The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Promoting Breastfeeding in First-Time Working Mothers in Bangna 1 General Hospital
Authors: กนกพร นทีธนสมบัติ
Kanokporn Nateetanasombat
นภาพร แก้วนิมิตชัย
Napaporn Kaewnimitchai
รสสุคนธ์ สืบสังข์
Rossukon Suebsung
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Breastfeeding
มารดาที่ทำงานนอกบ้าน
Working mothers
แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก
Clinical nursing practice guideline
การรับรู้ตนเอง
Self-perception
Issue Date: 2009
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้าน โดยการประยุกต์กรอบแนวคิดกระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สาเหตุจากการทบทวนปัญหาในการปฏิบัติงานและปัญหาจากความรู้ใหม่ๆ การดำเนินการสร้างแนวปฏิบัติจากการค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วยการกำหนดคำสำคัญ เพื่อการสืบค้นข้อมูล ได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 22 เรื่อง จากนั้น นำงานวิจัยที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทีละเรื่อง แล้วสร้างข้อสรุปในภาพรวมของความรู้ที่ได้จากงานวิจัยร่วมกับการบูรณาการองค์ความรู้จากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง จนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้าน ณ โรงพยาบาลบางนา 1 ซึ่งประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาล 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้านในระยะตั้งครรภ์ ระยะที่ 2 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้าน ในระยะหลังคลอด ระยะที่ 3 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้านภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล แนวปฏิบัติการพยาบาลได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน จากนั้นผู้ศึกษาได้นำไปทดลองใช้ในมารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้านที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลบางนา 1 จำนวนทั้งหมด 3 ราย ผลการศึกษาพบว่า มารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้านภายหลังจากการได้รับความรู้และฝึกทักษะต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเริ่มตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด 4 สัปดาห์ พบว่า มารดาครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้านทั้ง 3 ราย สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างถูกต้อง มีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับที่ดี และมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับที่ดี ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ การมีส่วนร่วมของครอบครัวควรนำมาประยุกต์รวมเข้าไว้ในแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งนี้เพื่อทำให้แนวทางในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความเข้มแข็งมากขึ้น และควรเพิ่มระยะเวลาในการติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานถึง 6 เดือน
The purpose of this study was to develop a clinical nursing practice guideline (CNPG) for promoting breastfeeding in first-time working mothers. Evidence base practice model by the center for advance nursing practice was adapted as framework for this clinical nursing practice guideline. The development began with problem analysis from actual nursing practice experiences and problems from new knowledges. Keywords were specified in the search of relevant evidences. Twenty-two related literatures were selected. The conclusion from analysis and synthesis of all relevant evidences together with knowledges texts and related literatures were used to determine the CPNG for promoting breastfeeding in first - time working mothers at Bangna l General Hospital. The CNPG consisted of 3 phases. The first phase was to promote breastfeeding in first-time working mothers during antenatal period. The second phase was to promote breastfeeding in first-time working mothers in during postpartum period. The third phase was to promote breastfeeding in first-time working mothers after discharge from the hospital. The CNPG was validated by three experts. Then it was tested on three firsttime working mothers who had received the antenatal care service , the delivery care service from Bangna l General Hospital. It was found that after implement the promoting breastfeeding in first - time working mothers 3 persons. It began in pregnancy until postpartum for 4 weeks. It was found that after three first-time working mothers had received knowledge and trained on breastfeeding skill from antenatal period to four weeks of postpartum period , they were able to breastfeed their newborn children correctly. Moreover, their breastfeeding behavior and their score of self-efficacy were in the good level. This study suggested that this CNPG for promoting breastfeeding in first-time working mothers should provide more time to follow up and support breastfeeding until 6 months. Furthermore, family participation should be included m this CNPG for promoting breastfeeding in order to make this CNPG more strength.
Description: การศึกษาอิสระ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4321
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Development-of-a-Clinical-Nursing-Practice-Guideline.pdf
  Restricted Access
26.92 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.