Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/451
Title: ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแนวทางการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากภาคขนส่งหนักทางบก : กรณีศึกษาบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Greenhouse Gas (GHG) Emissions and Approach to Reduce GHG Emissions from Inland Heavy Transport Sector : Case Study at Transportation Company in Samutprakarn Province
Authors: เทอดพงษ์ ศรีสุขพันธุ์
Thirdpong Srisukphun
วิมล ปิ่นประดับ
Wimon Pinpradab
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Keywords: ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ
Greenhouse gas mitigation
การขนส่งทางบก
Transportation, Automotive
น้ำมันดีเซล
Diesel fuels
ก๊าซธรรมชาติอัด
Compressed natural gas
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแนวทางการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกภาคการขนส่งหนักทางบก โดยใช้วิธีการคำนวณระดับที่ 1 (Tier 1)ตาม IPCC (2006) และทำการเปรียบเทียบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถบรรทุกลากจูงจำนวน 62 คัน ของบริษัทขนส่งหนักทางบกแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ชนิดของเชื้อเพลิงปริมาณเชื้อเพลิง ภาระบรรทุก กำลังแรงม้าของเครื่องยนต์ของรถบรรทุกลากจูงจากการวิจัย พบว่า ใน ปี พ.ศ . 2553-2558 รถ บรรทุกลากจูง มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น 12,075,391.78 kgCO2eq เป็นรถบรรทุกลากจูงที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง11,692,994.25 kgCO2eq และรถบรรทุกใช้ก๊าซซีเอ็นจี (CNG) เป็นเชื้อเพลิง 382,397.52 kgCO2eq ซึ่งพบว่า ระยะทางการเดินรถและภาระบรรทุกมีความสัมพันธ์เชิงเส้นต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งกรณีที่ใช้น้้ำมันดีเซลและก๊าซซีเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิง สำหรับอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำเพาะของรถบรรทุกลากจูงเทรลเลอร์ชนิด 2 เพลา และ 3 เพลา ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำเพาะที่ 3.54 และ 3.78 kgCO2/(km-%load)ตามลำดับ ส่วนรถบรรทุกลากจูงหางเทรลเลอร์ชนิด 3 เพลา ที่ใช้ก๊าซซีเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิง และหางไฮโดรลิคมีอัตราการปลดปล่อยที่ 4.64 และ 4.69 kgCO2/(km-%load) ตามลำดับสำหรับแนวทางในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสม ได้แก่ 1) การวางแผนการเดินทางเพื่อให้ได้ระยะทางที่สั้นที่สุด และ 2) การเลือกใช้รถบรรทุกลากจูงเทรลเลอร์ที่ใช้ก๊าซซีเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิง
The objectives of this research are study of the greenhouse gas (GHG) emissions and the approach to reduce GHG emissions from inland heavy transport sector using Tier 1 IPCC (2006) calculation method. The activity data (types of fuel, quantity of fuel, loading and horse power of engine collected from 62 tow-trucks of inland heavy transport company located in Samutprakarn Province were compared in this research. In 2010-2015, the total tow-trucks released GHG emissions of 12,075,391.78kgCO2eq. The total GHG emissions consisted of emissions from diesel tow-trucks of1 1 , 692,994.25 kgCO2eq and emissions from the compressed natural gas (CNG) tow trucks of 382,397.52 kgCO2eq. In both cases of fuels, it was found that, the relationship between distances and GHG emissions were linear equation. Moreover, the specific greenhouse gas emissions (SGE) were 3.54 kgCO2/(km-%load) in the case of diesel truck towing double-shaft trailer and the SGE of diesel truck towing three-shaft trailer were3.78 kgCO2/(km-%load). The SGE of CNG truck towing three-shaft trailer and diesel truck towing hydraulic trailer were 4.64 and 4.69 kgCO2/(km-%load), respectively. According to the results, the approach to reduce GHG emissions were1) Planning the traveled distance to get the shortest distance and 2) Choose to use the CNG truck trailer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) (การจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2560.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/451
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WIMON-PINPRADAB.pdf
  Restricted Access
5.68 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.