Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/526
Title: | วิถีชีวิตของบัณฑิตชาวจีนในสังคมไทย : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | Life of Chinese Graduates in Thai Society : A Cace Study in Huachiew Chalermprakiet University. |
Authors: | พัชรินทร์ บูรณะกร Patcharin Buranakorn Tang, Yihong Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษาจีน Huachiew Chalermprakiet University -- Chinese students ชาวจีน -- ไทย -- การดำเนินชีวิต Chinese -- Thailand -- Conduct of life |
Issue Date: | 2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของบัณฑิตชาวจีนในสังคมไทยและวิเคราะห์บทบาทของบัณฑิตชาวจีนที่มีต่อสังคมไทย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างง่ายจากบัณฑิตชาวจีน สำเร็จการศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งสำเร็จปีการศึกษา 2552-2555 ใช้วิธีจับฉลากจำนวน 60 คน และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ด้านวิถีชีวิตของบัณฑิตชาวจีนในสังคมไทย บัณฑิตชาวจีนเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมไทยต่อ เนื่องจากประเทศไทยไม่มีนโยบายกีดกันชาวต่างชาติ จึงทำให้มีโอกาสที่ดีในการหางานทำได้ง่าย และต้องการใช้ความรู้เพื่อการดำรงชีวิต การดำรงชีวิตของบัณฑิตชาวจีนต้องการมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยและภาษาจีน นอกจากนี้ยังพบว่าวิถีชีวิตของบัณฑิตชาวจีนในสังคมไทยมีคุณธรรมที่น่ายกย่องคือ มีความอดทนต่อสู้กับชีวิตจนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมไทย และรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำรงชีวิต ทำให้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ด้วยบทบาทที่มีต่อสังคมไทย บัณฑิตชาวจีนมีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย มีบทบาทในการนำเทคโนโลยีจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาในประเทศไทย ในด้านเศรษฐกิจ บัณฑิตชาวจีนช่วยส่งเสริมการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ขนส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยได้ผลกำไรจากการค้าขายมากขึ้น และเศรษฐกิจไทยขยายตัวมากขึ้น บัณฑิตชาวจีนยังมีบทบาทด้านสังคมและวัฒนธรรม และมีบทบาทในการส่งเสริมความสัมพันธ์ดีงามระหว่างไทย-จีน ซึ่งช่วยให้มีความร่วมมือร่วมกันค้าขายกัน และการร่วมมือจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ได้ดีมากขึ้น อันส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศไทนแน่นแฟ้นมากขึ้น This research aims to study lifestyle of Chinese graduates in Thai society and to analyze their roles in Thai society. Sample group is simply selected of 60 Chinese graduates in Communicative Thai as second language program, Master of Arts, Huachiew Chalermprakiet University who graduated between academic year 2009 to 2012. The research is presented in descriptive analysis. The research findings: In the lifestyle of Chinese graduate, after graduation, the Chinese graduates continue living in Thailand because in Thailand, there is no policy to discourage the foreigners. They therefore have the good opportunities to easily find their job. They would like to apply their knowledg in their living. Chinese graduates wish to have the career related to Thai and Chinese language usage. Chinese graduates' has morality which is admirable, being patient to fight for self-adaptation in order to live and applying the knowledge in living happily in Thailand. About the role in Thai society, Chinese graduates has the role in developing the education and the tourism. In technologies, Chinese graduates also bring new technologies from China in Thai society. Moreover, they have the important role in supporting economy. Chinese graduates encourage the trade between Thailand and China. They are the exporter to overseas which make more interet from trading and the economu of Thailand becomes expanded. Chinese Graduates have the social and cultural role. Lastly, they have the role in supporting good relationship between Thailand and China. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/526 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TANG-YIHONG.pdf Restricted Access | 4.1 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.