Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/603
Title: | การใช้ภาษาและการสื่อสารเพื่อการโฆษณาสินค้าประเภทเครื่องดื่มของไทย ระหว่างปี พ.ศ.2550-2560 |
Other Titles: | Language Usage and Communication for Advertising of Thai Beverage, during 2007-2017 |
Authors: | พัชรินทร์ บูรณะกร Patcharin Buranakorn Huang, Luna Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | โฆษณา -- เครื่องดื่ม Advertising -- Beverages ภาษาไทย -- การใช้ภาษา Thai language -- Usage เครื่องดื่ม Beverages |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้ภาษาเพื่อการโฆษณาสินค้าประเภทเครื่องดื่มของไทย และเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของการใช้ภาษากับประเภทของสื่อในการโฆษณาสินค้า ประเภทเครื่องดื่มระหว่าง พ.ศ. 2550-2560 โดยใช้การวิเคราะห์การโฆษณาสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ข้อมูลได้นำมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นป้ายโฆษณา และทางโทรทัศน์ จำนวน 90 ชิ้น ผลการวิจัยพบว่า การใช้ภาษาไทยในการโฆษณาสินค้าประเภทเครื่องดื่มในช่วงปี พ.ศ. 2550-2560 มี 3 ประเด็นที่พบมากที่สุด ได้แก่ 1) การใช้ภาษา โดยใช้คำที่มีหลายความหมายและมีเสียงสัมผัส การใช้วลีสละสลวย การใช้ประโยคกะทัดรัด เข้าใจง่าย การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามระดับของภาษา ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค 2) กลวิธีการใช้ภาษา ได้แก่ การใช้คำผิดแปลกไปจากภาษาที่ใช้กันอยู่ทั่วไป การซ้ำคำเพื่อเน้นคุณภาพหรือคุณค่าของสินค้า การใช้คำและสำนวนต่างประเทศ เพื่อให้ดูทันสมัย มีคุณภาพ 3) ลักษณะการใช้ภาษา แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ เรียกร้องความสนใจให้ความกระจ่างแก่ลูกค้า เสริมสร้างความมั่นใจและความภูมิใจ และยั่วยุการตัดสินใจ การใช้ภาษาทั้ง 4 รูปแบบในการโฆษณามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อโน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความสนใจและตัดสินใจสั่งซื้อหรือกระทำตาม นอกจากนี้แล้ว ผู้วิจัยยังพบว่า การใช้ภาษากับประเภทของสื่อในการโฆษณาสินค้าประเภทเครื่องดื่มมีความสอดคล้องกัน ได้แก่ ลักษณะสำคัญของสื่อแต่ละประเภทในการโฆษณาเครื่องดื่ม ลักษณะของสื่อสามารถแบ่งเป็นประเภทวัจนภาษา และประเภทอวัจนภาษา การใช้ภาษาของประเภทวัจนภาษาและประเภทอวัจนภาษาในแต่ละสื่อมีความสอดคล้องกัน This research aimed to analyze the use of Thai language for advertising beverages and examine the coherence of the language usage to the types of advertising media. Ninety advertisements of soft drinks and alcoholic drinks, in the form of printing media, bill board, and televisiom spot, during 2007-2017 were studied. It was found that the use of Thai language in advertisement of beverages during 2007-2017 could be sorted into three aspects, which were 1) language usage, board meaning words and rhyming; literary phrases and concise sentences with clear meaning were used accordingly to the level of the language; the main purpose of this language usage was to attract consumers' interest 2) Styles of using the language, including unusual language; repeating words emphasizing product quality or esteem; and foreign words or idioms showing modernity and quality were used. And 3) Four types of messages, which were calling attentions; clarifying doubts; reinforcing trust and pride; and urging desire, were used. The purpose of using these four types of messages solely aimed to spur consumers' interest and make the purchase or act accordingly. The researcher also found that the language usage of studies advertisements were coherent to the types of advertising media. Two types of advertising media were used, which were presenting verabl and non-verbal languages. The language usage for each media type was well relative. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/603 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
HUANG-LUNA.pdf Restricted Access | 71.74 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.