Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/617
Title: ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับไต้ฮงกงในสังคมไทย : กรณีศึกษาเฉพาะกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Beliefs and Rituals of Tai Hong Kong in Thai Society : A Case Study in Bangkok
Authors: อิมธิรา อ่อนคำ
Huang, Liyu
Keywords: ไต้ฮงกง
ความเชื่อ
ไทย -- ภาวะสังคม
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
Rites and ceremonies
Belief and doubt
Tai Hong Kong
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไต้ฮงกงในสังคมไทย และเพื่อวิเคราะห์บทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไต้ฮงกงที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับศาลเจ้าไต้ฮงกง ผู้มากราบไหว้ไต้ฮงกง และผู้เข้าร่วมงานพิธีกรรมต่างๆ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 40 คน รวมทั้งการสังเกตการณ์ การศึกษาข้อมูลเอกสารและเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ดังสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย พบว่า ไต้ฮงกงเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม ได้บำเพ็ญสาธารณกุศล สงเคราะห์ผู้คนทั่วไปมาตลอดชีวิต จึงทำให้ผู้คนเชื่อกันว่า ไต้ฮงกง เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม ที่สามารถช่วยเหลือคุ้มครองชีวิตให้ดีในด้านต่างๆ ช่วยดลบันดาลให้มีชีวิตที่ดี มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านโชคลาภ สุขภาพและการศึกษา ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงทำให้มีการจัดตั้งศาลเจ้าไต้ฮงกงขึ้้นเป็นที่เคารพ รำลึกไต้ฮงกง และมีการจัดพิธีกรรมตามเทศกาลจีนต่างๆ ดังสถานที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีการจัดพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับไต้ฮงกงได้จัดขึ้นที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมี 3 พิธีกรรม ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน การทิ้งกระจาด และเทศกาลกินเจ พิธีกรรมที่จัดขึ้นที่โรงพยาบาลหัวเฉียวมี 2 พิธีกรรม ได้แก่ เทศกาลตรุษจีนและพิธีกรรมที่จัดขึ้นในวันก่อตั้งโรงพยาบาล ส่วนพิธีกรรมที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมี 2 พิธีกรรม คือ เทศกาลตรุษจีนและพิธีกรรมแห่ไต้ฮงกง ซึ่งการจัดพิธีกรรมทำให้เห็นถึงบทบาทของไต้ฮงกงที่มีต่อสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทด้านเศรษฐกิจ การค้าขายและการท่องเที่ยว บทบาทต่อสังคมด้านคุณธรรม จริยธรรม การเป็นศูนย์รวมใจสร้างความสามัคคี และยังมีบทบาทต่อวัฒนธรรมด้านการสืบทอดวัฒนธรรมจีนที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนได้ให้ความสำคัญกับไต้ฮงกงเป็นอย่างมาก โดยการแสดงออกมาผ่านความเชื่อ ความศรัทธาและพิธีกรรมที่ต่อไต้ฮงกงร่วมกัน ทั้งยังเป็นสิ่งที่จะช่วยในการสืบทอด และสืบสานความเชื่อต่อไต้ฮงกงนี้ให้คงอยู่ตลอดไป
This qualitative research aimes to study the beliefs and rituals relating to Tai Hong Kong in Thai society and analyze the roles of Tai Hong Kong-related beliefs and rituals in the present Thai society. The research data was gathered from field interviewing of care takers of Tai Hong Kong sanctuaries, the worshippers and participants in Tai Hong Kong-related rituals. Forty informants were specific selected. Observations and documentary studies were also applied. Research findings were reported in a descriptive analysis form. From the stusy, it was found that Tai Hong Kong had been a public idol who performed charities of helping people throughout his life. By his pious conducts, people felt faithful in Tai Hong Kong as a high moral and ethical figure and believed that his grace could bless others to have good lives, be prosperous in fate, health, and education. According to these faith and beliefs, Tai Hong Kong santuaries were constructed in order for paying worship and performing rituals relating to Chinese festivals. Three main sanctuaries were at Poh-Teck-Tung Foundation, Huachiew Hospital, and Huachiew Chalermprakiet University. Three regular rituals were held at Poh-Teck-Tung Foundation, which were Chinese New Year Day; the merit basket spread for the poor; and the tenth month merit-making. Huachiew Hospital normally performed two rituals, which were Chinese New Year Day and the memorial foundation day of the hospital. For Huachiew Chalermprakiet University, two rituals were annually performed which were Chinese New Year Day and Tai Hong Kong Procession Day. All rituals showed the role of Tai Hong Kong in Thai society in many areas including economy; trading; tourism; social moral; social unity; and Chinese-Thai culture. They would also as long as sustain the beliefs and faith in Tai Hong Kong in Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/617
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
HUANG-LIYU.pdf11.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.