Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/622
Title: เทศกาลเช็งเม้ง : กรณีศึกษาเปรียบเทียบพิธีกรรมของขาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วในจังหวัดกรุงเทพมหานครและชาวจีนแต่้จิ๋วในเมืองซัวเถา
Other Titles: Qingming Festival : A Comparative Study of Practices of the Zhaozhou Chinese in Bangkok and Chaozhou People in Shantou
Authors: พัชรินทร์ บูรณะกร
Patcharin Buranakorn
Lan, Yandan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: เช็งเม้ง
Qingming festival
เทศกาล -- จีน
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
Rites and ceremonies
แต้จิ๋ว -- จีน -- ซัวเถา
แต้จิ๋ว -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพิธีกรรมในเทศกาลเช็งเม้งของชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วในจังหวัดกรุงเทพมหานครและชาวจีนแต่จิ๋วในเมืองซัวเถา และเพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างพิธีกรรมในเทศกาลเช็งเม้งของชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วในจังหวัดกรุงเทพมหานครและชาวจีนแต้จิ๋วในเมืองซัวเถาโดยใช้การวิจัยเอกสารและข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลเช็งเม้ง จำนวน 40 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 20 คน เป็นกลุ่มชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วในประเทศไทยและกลุ่มชาวจีนแต้จิ๋วในสาธารณรัฐประชาชนชาวจีน และรายงานผลการวิจัยแบบการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วได้ทำพิธีกรรมในเทศกาลเช็งเม้งตามแบบอย่างบรรพบุรุษที่เป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และได้ตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนชาวจีนแต่จิ๋วในเมืองซัวเถามีพิธีกรรมการเคารพบรรพบุรุษมานาน 2,000 ปี เป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดและสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยมีแนวคิดการทำพิธีกรรมจากความเชื่อและคุณธรรมของชาวจีน ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุุษ และเชื่อว่าวิญญาณบรรพบุรุษจะได้ช่วยปกป้องทำให้ลูกหลานเจริญรุ่งเรือง มีขั้นตอนการทำพิธีกรรมการเซ่นไหว้ การยึดถือตามข้อห้ามในการเซ่นไหว้ ที่เป็นประเพณี และพิธีกรรมที่ได้สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต สำหรับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดให้เทศกาลเช็งเม้งเป็นวันสำคัญและประกาศให้เป็นวันหยุดงนเพื่อให้ชาวจีนแต้จิ๋วได้ท่องเที่ยว ในด้านการเปรียบเทียบพิธีกรรมของเทศกาลเช็งเม้งของชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วในจังหวัดกรุงเทพมหานครและชาวจีนแต้จิ๋วในเมืองซัวเถา พบว่า มีการเซ่นไหว้ ขั้นตอนการเซ่นไหว้ และข้อห้ามการปฏิบัติตนที่คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันตามอิทธิพลของสังคมและสภาพแวดล้อม การนับถือศาสนาและความเชื่อ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนพิธีกรรมตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมสมัยใหม่ ดังที่มีการเปลี่ยนพิธีฝังศพมาเป็นการเผาศพ การใช้เทคโนโลยีและการว่าจ้างคนอื่นไปทำพิธีแทน การไปทำงานในถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากบ้านเกิด โดยเฉพาะรูปแบบความเชื่อที่มีแนวโน้มแตกต่างจากบรรพบุรุษ ทำให้พิธีกรรมในเทศกาลเช็งเม้งไม่เคร่งครัดดังเช่นสมัยก่อน
The research aimed to study the ritual of the Qingming Festival of Shantou Chinese in Bangkok, Thailand and in Shantou, China, and to compare the similarities and differencess of the Qingming ritual of Shantou Chinese from the two places. It was a documentary and field research that using interviewing of purposive samples. The samples were 40 Shantou Chinese that divided into 2 groups; 20 samples were from Bangkok and another 20 samples were from Shantou. The data were analyzed by using descriptive analysis. The study showed that the Shantou Chinese have practices the Qingming ritual as their ancestors who immigrated in Thailand and settled down in Bangkok. The Shantou Chinese had the ritual for commemorate their ancestors for more than 2,000 years. This ritual continued and had its conceot on the Chinese belief and virtue which were considered as the main mechanism to shoe the gratefulness to the ancestors. They also believed that their ancestors would help and protect their prosperity. They had the process of worshiping ritual, following the ways in workshoping which were derived from the traditional customs. In China, the government has scheduled Qingming Day as the national holiday since 2007 in order to promote the travelling of the Shantou Chinese. In comparing the Qingming ritual; the Shantou Chinese in Bangkok and Shantou had the same sacrifices and process of offering and similar prohibition. The differences were influenced by the changes of society, environment, religion, and beliefs, and the ritual had been adjusted according to those changes. For examples the burial was changed to crematiom using technology and hiring others to perform the ceremony. In addition, working far away from home could change the belief pattern from their ancestors and the ritual was not as formal as it used to be.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2560
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/622
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LAN-YANDAN.pdf
  Restricted Access
9.27 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.