Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/666
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิมธิรา อ่อนคำ-
dc.contributor.advisorImthira Onkam-
dc.contributor.authorYang, Haiyan-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts-
dc.date.accessioned2022-09-03T16:13:02Z-
dc.date.available2022-09-03T16:13:02Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/666-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อเสือในสังคมไทย และเพื่อวิเคราะห์บทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อเสือ ที่มีต่อสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และใช้วิธีเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องของศาลเจ้าพ่อเสือเสาชิงช้าและศาลเจ้าพ่อเสือบางหว้า จำนวน 32 คน และการสังเกตการณ์แหล่งข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ศาลเจ้าพ่อเสือเสาชิงช้า และศาลเจ้าพ่อเสือบางหว้ายังคงมีความเชื่อที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน 5 ประการ คือ การขอด้านการงานเพื่อให้การงานก้าวหน้า การขอบุตรเพื่อให้คนที่มีบุตรยากได้สมหวัง การขอเรื่องสุขภาพเพื่อให้หายจากโรคภัยต่างๆ การขอโชคลาภเพื่อให้การค้าขายร่ำรวย และการขอเรื่องการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวทำให้มี 6 พิธีกรรม คือ 1) พิธีวันจับโหง่ว เป็นพิธีกรรมการขอบุตร 2) พิธีวันเกิดเจ้าพ่อเสือเป็นพิธีกรรมการเป็นการเฉลิมฉลองและขอบคุณเจ้าพ่อเสือ 3) พีธีแห่เจ้าโดยจะอัญเชิญเจ้าพ่อเสือและเทพเจ้าอื่นๆ ภายในศาลออกแห่ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้แสดงความเคารพนับถือต่อเทพเจ้า 4) พิธีสวดมนต์และเวียนเทียนเป็นการระลึกถึงเจ้าพ่อเสือและเทพตั่วเหล่าเอี๊ย 5) พิธีลอยกระทง เป็นการทำบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว 6) พิธีเทกระจาด เป็นการทำบุญให้แก่วิญญาณไร้บ้านและแจกทานให้กับผู้ยากไร้ ถือเป็นการทำบุญครั้งใหญ่ของศาลเจ้าพ่อเสือ ดังจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันศาลเจ้าพ่อเสือยังคงมีความเชื่อและได้ปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆ อยู่เสมอ ซึ่งความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อเสือทั้ง 2 แห่งมีบทบาทต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก สามารถสรุปเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านจิตใจ ทำให้ผู้ศรัทธาจิตใจสงบสุขและมีกำลังใจในการดำรงชีวิต 2) ด้านสังคม เป็นศูนย์รวมใจสร้างความสามัคคีทั้งภายในและภายนอกชุมชนและทำให้เกิดการแบ่งปันและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสีงคม 3)ด้านเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับชุมชนบริเวณศาลเจ้า และช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4) ด้านวัฒนธรรม เป็นการผสมผสานและสืบทอดวัฒนธรรมไทย-จีนให้สืบไปth
dc.description.abstractThis research aimed to study the beliefs and ritual of Tiger God shrine in Thai society. The research was qualitative researrch by collecting field data from in-depth interview 32 people in Giang swing's Tiger God shrine and Bang Wa Tiger God shrine including studying the documentation and observing. The research's result was presented in descriptive analysis. The research found that in both Tiger God Shrine there were 5 beliefs clearly shown: wish for prestige in career; wish for baby among infertility people; wish for good health to recover from illness; wish for prosperity in business and wish for success in studying. The mentioned beliefs created 6 rituals. 1) On 15th of Chinese calender, there was the ritual to pray for baby 2) Tiger God's Birthday was the thanksgiving ceremony 3) Tiger God Parade by inviting the Tiger God and deities in the shrine during the Vegetarian Festival. 4) Prayer and candlelit ceremonies as a remembance of the Tiger God and the Gods of Tao 5) Loy Krathon was a merit making for those who have passed away and 6) Feeding the Hungry Ghost festival was a day to give alms to the needy whish was considered as a big merit making of Tiger God shrines. In conclusion; nowadays, at Tiger God shrines, people still believe and practice various rituals every year. Both Tiger God Shrines were the sacred places where could clearly reflect the integration of Thai-Chinese culture in Thai society.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectศาลเจ้าพ่อเสือ -- ไทย -- กรุงเทพฯth
dc.subjectTiger God Shrine -- Thailand -- Bangkokth
dc.subjectความเชื่อth
dc.subjectBelief and doubtth
dc.subjectพิธีทางศาสนาและพิธีกรรมth
dc.subjectRites and ceremoniesth
dc.subjectไทย -- ภาวะสังคมth
dc.subjectThailand -- Social conditionsth
dc.subjectสังคมไทย-
dc.titleความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อเสือในสังคมไทย : กรณีศึกษาเฉพาะกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeBeliefs and the Rituals of Tiger God Shrine in Thai Society : A Case Study in Bangkokth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองth
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
YANG-HAIYAN.pdf
  Restricted Access
15.94 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.