Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/675
Title: | 俸泰民间故事文化内涵的比较研究 |
Other Titles: | การศึกษาเปรียบเทียบนัยทางวัฒนธรรมของนิทานพื้นบ้านระหว่างชาวไตและชาวไทย A Comparative Study of the Cultural Connotations of the Dai and Thai Traditional Folklore |
Authors: | 毛翰 Mao, Han เหมา, ฮั่น 罗洵 Luo, Xun |
Keywords: | นิทานพื้นเมือง -- ไทย Folklore -- Thailand 民间故事 -- 泰国 วรรณคดีเปรียบเทียบ Comparative literature 比较文学 การศึกษาข้ามวัฒนธรรม Cross-cultural studies 跨文化教育 ชาวไต -- ความเป็นอยู่และประเพณี ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี 泰国 -- 社会生活和习俗 Thailand -- Social life and customs 傣族 -- 社会生活与习俗 |
Issue Date: | 2011 |
Publisher: | Huachiew Chalermprakiet University |
Abstract: | นิทานพื้นบ้านเป็นวรรณคดีที่สำคัญของชาวไตและชาวไทย ในขณะเดียวกันรูปแบบของวรรณคดีก็ยังเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนชองทั้งสองชนชาติอย่างยิ่ง นิทานพื้นบ้านเป็นการรวบรวมการแสดงออกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็เปรียบเสมือนภาพย่อที่สะท้อนถึงชีวิตและอุดมการณ์ที่แท้จริงของชนชาติทั้งสอง ดังนั้น การศึกษาเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านของชาวไตและชาวไทย จึงแสดงให้เห็นถึงการศึกษาลักษณะแหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรมของทั้งสองชนชาติ ในขณะเดียวกันมุมมองใหม่นี้สามารถนำเอาการบรรยายทางทฤษฎีมาอธิบายสาเหตุที่มาของความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งในการชี้ถึงความสัมพันธ์และการพัฒนาของวัฒนธรรมในทุกๆ ด้านในนิทานพื้นบ้านของชนชาติทั้งสอง ชาวไตและชาวไทยมีความสัมพันธ์กันในเรื่องของแหล่งกำเนิดชนชาติ ถึงแม้ว่าชนชาติทั้งสองจะอยู่ในภูมิภาคสภาพแวดล้อมและระบบการปกครองประเทศที่แตกต่างกันมาเป็นเวลานาน แต่รากฐานทางวัฒนธรรมพื้นบ้านยังคงมีบทบาทสำคัญ จนถึงปัจจุบันยังคงรักษาวัฒนธรรมทางชนชาติที่มีแหล่งกำเนิดพิเศษร่วมกันเอาไว้ เช่น พิธีทางศาสนา เทศกาลประเพณีตามขนบธรรมเนียมของประชาชน ความคิดศีลธรรม เป็นต้น จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นไปไม่ได้ที่วัฒนธรรมของทั้งสองชนชาติจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ดังนั้นวัฒนธรรมของทั้งสองชนชาติจึงมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปทางพหุนิยมมากขึ้น นอกจากนี้ยังซึมซาบวัฒนธรรมความคิดทางศาสนาก่อให้เกิดเป็นการเพิ่มชีวิตชีวาและการผันแปรระหว่างวัฒนธรรม จนสามารถพูดได้ว่าพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันก่อให้เกิดเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวทางวัฒนธรรมของชนชาติตนขึ้น กลายเป็นระบบวัฒนธรรมชนชาติที่มีความหลากหลา ย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ใช้นิทานพื้นบ้านของชาวไตและชาวไทยที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันในเรื่องของแหล่งกำเนิดของชนชาติเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่แค่เพียงพอเพื่อแสดงให้เห็นถึงการก้าวข้ามกันของระบบวัฒนธรรมหรือความเหมือนความแตกต่างของนิทานระหว่างชนชาติแต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทานพื้นบ้านของชาวไตและชาวไทย อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการบรรยายวิเคราะห์แหล่งที่มาที่ทำให้เกิดความเหมือนหรือความต่างกันตามประวัติวัฒนธรรมเป็นอีกก้าวหนึ่งในการกลั่นกรองนัยทางวัฒนธรรมเฉพาะกับมูลค่าทางวัฒนธรรม Folktale is one of the most important categories in Dai-Thai folklore. Both of these two nationality people love their stories. Folktales are a kind of composite experiences about their racial cultures and at the same time, folktales are true miniatures of these two kinds of lives and dreams. So the comparisons and researches between Dai and Thai are the right subjects to reveal the most original culture factors, and at the same time can theoretically explain the reason of the differences and similarities in the transnational mainstream culture and further more to clear the connections and developments of the cultures events in these two national folktales. Originally, Dai and Thai have the same courses before, no matter in a long period time they were under two different political systems and are quite far from each other Both of them now are still keeping many similar cultural characteristics sucj as religion ceremony customs, holidays, and moral philosophies, etc. But as the time flew, other cultures and religions permeated in. As a result, multi-cultural system occured. This essay will present many Dai-Thai folktales not only to expose the differences in two countries and their cultures but also to research the connections between Dai and Thai folktales with their relative events. It mainly expounds the reasons those made the historical cultural distinctions. And further more to refine their unique connotation and value for both Dai and Thai nationalities. 民间故事是泰民间文学中的重要门类之一,同时也是两族人民十分喜爱的文学形式;民间故事是一种民间文化的综合表现,同时也是两族民众生活和理想最真实的缩影。所以泰泰民间故事的比较研究,正是揭示泰泰民族文化因子最根源性的研究对象,同时这个全新的视角可以从理论上阐释造成跨国主流文化异同的原由,进一步明确两族民间故事中各种文化事项的联系与发展。 泰泰民族有着共同的民族渊源关系,虽然两族长期处于不同的地域环境与不同的国家政治制度,但在民族文化根基上仍然处于主导地位。迄今依然完整保留着原始民族文化的基本特征,如宗教仪式、民俗节日、道德观念等等。随着时代的变迁两族文化的发展也不可能一成不变,所以就形成了两族文化正趋于一体多元化的发展方向。而外来宗教文化思想的渗入,使得文化之间的互动增加了生动性与变异性,也可以说在共同的文化基础上产生了本民族自身的文化特色,形成了多样性的民族文化体系。本文以具有较强民族文化渊源关系的傣泰民间故事为例,从中不只是为了揭示跨文化体与不同国家民族之间的故事异同,还要突显出泰泰民间故事中相关文化事项的区别和联系,注重于阐述造成这些历史文化异同的根源,进一步提炼出两族特定的文化内涵与文化价值。 |
Description: | Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2011 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/675 |
Appears in Collections: | College Of Chinese Studies - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Luo-Xun.pdf Restricted Access | 6.83 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.