Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/951
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.advisor | Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya | - |
dc.contributor.author | วินิตตา ก้องธรนินทร์ | - |
dc.contributor.author | Winitta Kongtoranin | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-11-30T13:25:07Z | - |
dc.date.available | 2022-11-30T13:25:07Z | - |
dc.date.issued | 2002 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/951 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีระดับความซื่อสัตย์ต่างกัน 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในได้แก่นักเรียนในโรงเรียนในกรุงเทพมหานครจำนวน 6 แห่ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน 370 คน เป็นชาย ร้อยละ 51.6 หญิง 48.4 บิดามารดาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อาชีพลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชนและอาชีพอิสระ สถานภาพสมรสของบิดามารดาส่วนใหญ่คือยู่ด้วยกัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลได้ว่า ระดับความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับ 3 คือระดับที่นักเรียนมีการกระทำดีตามที่เห็นผู้อื่นทำโดยปัจจัยที่ทำให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีระดับความซื่อสัตย์ต่างกันคือ ระดับชั้นเรียน และผู้อบรมเลี้ยงดูใกล้ชิดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โดยตรงคือ การเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองและใช้เหตุผลส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ของนักเรียน ได้แก่ การควบคุมตนเอง ทัศนคติต่อคุณธรรมจริยธรรม ผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด และชั้นเรียนที่สูงขึ้น ส่วนตัวแปรที่มีผลทางอ้อม ได้แก่ การฟัง/ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ การอบรมจากโรงเรียน การเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองการเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล การเห็นแบบอย่างจากพ่อแม่ มีผลโดยตรงต่อการควบคุมตนเอง ซึ่งการควบคุมตนเองเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ เนื่องจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการควบคุมตนเองเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะว่าควรส่งเสริมและปลูกฝังการมีวินัยในตนเอง และการควบคุมตนเองในระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างพลเมืองที่มีความซื่อสัตย์ของประเทศต่อไปในอนาคต | th |
dc.description.abstract | This research aimed to 1) study the level of integrity among high-school students in Bangkok, 2) examine factors affecting the level of integrity and 3) study factors affecting their honesty behavior. The data were collected through distribution of questionnaires to students in 6 schools in Bangkok. The analytical framework used in this research was descriptive statistics, percentile, means, as well as analysis of variables, correlation, and multiple regression. Samples were 370 students, 51.6 % were boys and 48.4% were girls. Their parents mostly finished primary and secondary school levels and mostly were employees in private sectors or independent workers. Having analyzed the data, the researcher come to a conclusion that the integrity level of high-school students in Bangkok was at level 3, which meant students have done things in order to follow their groups. The study also found that the higher grades the higher the level of honesty , as the students become mere mature. Besides, having been brought up in a close-knitted family also contributed to their honest behavior. The study found that students who were close to their mother attained the highest level of integrity, while those brought up by others had the lowest level-gradually lower in proportion with their closeness to the children. The factors affection honesty of high-school students were self-control, attitudes virtue, morality of their raisers, and higher classes. Other factors, which were radio and TV programs, training in school, supportive and self-dependent bringing-ups, reason-oriented rearing, and imitating of their parents behaviors, had indirect effects on the children’s honest behaviors while having direct impacts on their self-control, which directly affected honest behaviors. The research found that the relations between self-control towards bio-social factors, including schools. Classes, sex, parents’ education, parents’ occupation, and marital status, and their closest fosterers, made no differences on their behaviors. As the findings revealed that self-control was the most important factor towards integrity of high-school students, the researcher would like to suggest that self-discipline and self-control should be promoted among high-school students, as it would serve as a foundation upon which honest citizens could be brought up. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ | th |
dc.subject | Secondary students -- Thailand -- Bangkok | th |
dc.subject | ความซื่อสัตย์ | th |
dc.subject | Honesty | th |
dc.title | การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ของนักเรียนในกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเฉพาะนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร | th |
dc.title.alternative | Factors Affecting Honesty Behavior of Students in Bangkok : A Study of Secondary School Students under the Formal Education Department | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Winitta-Kongtoranin.pdf | 91.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.