Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/994
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบตำนานการกำเนิดและประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพญานาคของไทยและมังกรของจีน |
Other Titles: | A Comparative Study of Legends and Traditions Related to Thai Nage and Chinese Dragon |
Authors: | จรัสศรี จิรภาส Charassi Jiraphas 谢玉冰 Wang, Lijiao Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | พญานาค Naga มังกร. Dragons ความเชื่อ Belief and doubt ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี Thailand -- Social life and customs จีน -- ความเป็นอยู่และประเพณี China -- Social life and customs |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาความสัมพันธ์หรือลักษณะร่วมระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมจีน ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก 2 ด้าน คือ ศึกษาเปรียบเทียบตำนานการกำเนิดพญานาคของไทยและมังกรของจีน และศึกษาลักษณะร่วมและลักษณะที่แตกต่างกันของประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพญานาคของไทยและมังกรของจีน เนื่องจากพญานครกับมังกรต่างเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ความเชื่อ ของทั้งสองชนชาติ จากการศึกษาวิจัยพบว่า สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนชาติไทยและชนชาติจีน คือ พญานาคและมังกร ซึ่งเป็นสัตว์มงคลหรือสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในจินตนาการของชนทั้งสองชาติที่ได้ให้การเคารพบูชา ต่างมีรูปลักษณ์ของสัตว์ต่างๆ รวมกันภายใต้รูปลักษณ์พื้นฐน คือ เป็นสัตว์ประเภทงูเหมือนกัน โดยพญานาคหรือนาค มีลักษณะรูปร่างลำตัวเรียวยาว อาศัยอยู่ในน้ำ สามารถเดินได้ ว่ายน้ำได้ เหาะเหินได้ และสามารถแปลงร่างได้ ส่วนใหญ่มีลำตัวสีเหลือง สีแดง และสีเขียว ส่วนมังกรมีลักษณะลำตัวยาว มีเกล็ด มีเขา มีขา มีหาง สามารถเดินได้ บินได้ และว่ายน้ำได้ มนุษย์เลื่อมใสศรัทธาและบูชาสัตว์ลึกลับดังกล่าว จึงทำให้เกิดประเพณีและความเชื่อต่างๆ ตามมา ด้านประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพญานาคของไทยและมังกรของจีน จากการศึกษาพบว่า ประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพญานาคของไทยและมังกรของจีน ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติโดยเกี่ยวข้องกับธาตุน้ำเป็นหลัก เช่น ประเพณีเกี่ยวข้องกับพญานาคที่สัมพันธ์กับธาตุน้ำ ได้แก่ ประเพณีบั้งไฟพญานาคที่นิยมจัดในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ประเพณีบุญบั้งไฟที่นิยมจัดในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ประเพณีแข่งเรือที่นิยมจัดที่จังหวัดน่านหรือภาคกลาง เป็นต้น ประเพณีเกี่ยวข้องกับมังกรที่สัมพันธ์กับธาตุน้ำ ได้แก่ ประเพณีเชิดมังกร และประเพณีขอฝนเดือนยี่ที่นิยมจัดทั่วทั้งประเทศ ประเพณีเผาโคมมังกรที่นิยมจัดที่เมืองฉางหนิง มณฑลเสฉวน ประเพณีแข่งเรือมังกรซึ่งโดยทั่วไปจัดกันบริเวณณตอนใต้ของจีน เป็นต้น ประเทศไทยและประเทศจีนต่างเป็นประเทศเกษตรกรรม ดังนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านจึงสัมพันธ์กับน้ำอย่างใกล้ชิด ชาวบ้านจะให้ความสำคัญมากกับน้ำในแม่น้ำลำคลองและฝนที่ตกโดยธรรมชาติ น้ำและฝนสามารถช่วยในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี พญานาคและมังกร จึงเปรียบเสมือนเทพอารักษ์หรือเรียกว่าสัญลักษณ์อันนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชผลการเกษตรและกสิกรรม ซึ่งก็คือความอุดมสมบูรณ์ในการดำรงชีวิตของชาวบ้านนั่นเอง ประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวกับพญานาคและมังกรนอกจากจะสัมพันธ์กับน้ำแล้ว บางประเพณียังมีความสัมพันธ์กับศาสนา หรือใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการประกอบกิจกรรม เพื่อให้ประเพณีนั้นเกิดความศักดิ์สิทธิ์และมีความสมบูรณ์เป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน เช่น ประเพณีบวชนาค และประเพณีไหลเรือไฟ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญและนิยมจัดขึ้นกันในพิธีบั้งไฟพญานาค อาจกล่าวได้ว่า ตำนานและประเพณีเป็นภาพสะท้อนของสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเราสามารถเข้าถึงสังคมและวัฒนธรรมของชาติใดชาติหนึ่งได้โดยผ่านตำนานและประเพณีของชาตินั้น ตำนานและประเพณีที่มีลักษณะร่วมกันของสองชนชาติ สามารถแสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมของสองชนชาตินั้นมีลักษณะร่วมกัน ส่วนตำนานและประเพณีที่มีลักษณะแตกต่างกันของสองชนชาติก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าภายใต้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของชนทั้งสองชาติยังมีความแตกต่างที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน This research aims as to study the relevance or similarity between Thai and Chinese cultures focusing on two objectives which are: 1) to comparatively study the legends of origin of Thai naga and Chinese dragon, and 2) to study the similarities and difference of traditions and beliefs regarding Thai naga and Chinese dragon, since they are symbols influencing ways of life of both Thai and Chinese people. The results of the study showed that both the naga and the dragon which are Thai and Chinese cultural symbols are mix-characterized from various animals. Basically, they both are serpent-kind. The naga has a long, slender body and lives in the water. However, it can move on land and fly as well as swim. Distinguishingly, it can disguise or transform itself. Its general color is yellow, red, or green. For the Chinese dragon, its body is long and covered by scales. It also has horns, legs, and a tail. And it can walk, fly, or swim. Both Thai and Chinese people have high regard for these two sacred animals and worship them. As a consequence, traditions and beliefs relating to them are practiced for prosperity. For traditions and beliefs regarding Thai naga and Chinese dragon, the study found that mostly they involve nature, especially water. Examples are the festival of "Naga fireballs" in Phone Phi Sai District, Nongkai Province, the festival of "Sky rocket" in the Northeastern or Isan region, and the thradition of "Bang racing" in Nan Province and the Central region of Thailand. Of Chinese traditions and beliefs, some examples are the tradition of "Dragon dances", the tradition of "Begging for rasins" in the second month organized across China, the festival of "Dragon lantern burning" in Changing City, Sichuan Province, and the festival of "Dragon boat racing" in the Southern region of China. Both Thailand and China are agricultural countries; therefore, people have a strong tie with water, since it supports their career of farming. The naga and the dragon, so, are like the guardian or the symbols of agricultural fertility, which is, relatively prosperity in people lives. Besides relating to water, some traditions and beliefs regarding the naga and the dragon are religious-involved, dealing with forming sacredness. Examples are the Buddhist ordination ceremony and the tradition of "Lantern boat floating" which is normally performed in the Naga fireballs festival. In conclusion, the relevance and difference showing in legends, traditions, and beliefs relating to the Thai naga and Chinese dragon have shed a light on the common social and cultural background of Thai and Chinese people. As a consequence, this may encourage the better understanding and closer cooperation of two sisterhood countries. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/994 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf Restricted Access | 4.54 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Table of Content.pdf Restricted Access | 216.11 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter1.pdf Restricted Access | 213.3 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter2.pdf Restricted Access | 512.27 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter3.pdf Restricted Access | 707.17 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter4.pdf Restricted Access | 543.8 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter5.pdf Restricted Access | 176.82 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
References.pdf Restricted Access | 523.83 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.