งานวิจัยในครั้งนี้ได้ทำการสกัดสารจากใบต้นจำปีและจำปาเพื่อศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) และการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RMCCA-1 การสกัดสารใช้วิธีแช่ในตัวทำละลาย (maceration) แบบลำดับขั้นด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีขั้วแตกต่างกันคือ เฮกเซน เอทิลอะซิเตท และเมทานอล นำสารสกัดในแต่ละชั้นของตัวทำละลายมาวิเคราะห์องค์ประกอบเบื้องต้น เพื่อให้ได้รูปแบบการกระจายตัวด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบผิวบาง โดยมีวัฏภาคนิ่งคือ ซิลิกา (silica) และวัฏภาคเคลื่อนที่คือ เฮกเซน และเอทิลอะซิเตท ในอัตราส่วน 4:1 โดยปริมาตร การทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH พบว่าสารสกัดจากใบต้นจ้าปาในชั้นเมทานอลมีค่าความเข้มข้นที่ทำให้ DPPH มีปริมาณเหลือ 50% (inhibitory concentration at 50%, IC50) ดีที่สุดคือเท่ากับ 0.018 ± 0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน Butylated hydroxy toluene (BHT) ที่มีค่า IC50 เท่ากับ 0.048 ± 0.002 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร การเปรียบเทียบสารสกัดในชั้นตัวทำละลายเดียวกันที่เก็บได้ในแต่ละรอบเดือน ได้แก่ รอบที่ 1 เดือนมกราคม รอบที่ 2 เดือนเมษายน และรอบที่ 3 เดือนมิถุนายน พบว่าสารสกัดหยาบมีค่า IC50 ต่อ DPPH แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ (One-way ANNOVA, SPSS, p < 0.05) คาดว่าฤดูกาลน่าจะมีผลต่อองค์ประกอบของสารในใบต้นจำปีและจำปา การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งท่อน้้าดีชนิด RMCCA-1 ใช้ความเข้มข้นเบื้องต้นที่ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยจะเปรียบเทียบผลการยับยั้งกับเซลล์ท่อน้ำดีปกติชนิด MMNK-1 เพื่อใช้เป็นผลในเลือกสารสกัดเพื่อศึกษาค่าความเข้มข้นที่มีผลต่อการยับยั้งการเพิ่มจ้านวนของเซลล์ที่ 50% (IC50) พบว่าสารสกัดจากใบต้นจำปีในตัวอย่างรอบที่ 1 ในชั้นตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท สารสกัดจากใบต้นจ้าปาในตัวอย่างรอบที่ 2 ในชั้นตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท และเมทานอล มีค่า IC50 ต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RMCCA-1 เท่ากับ 13.51 ± 1.12, 51.07 ± 10.52 และ 26.43 ±1.36 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ผลการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดจากใบต้นจำปีและจำปามีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RMCCA-1 ดังนั้นสารสกัดจากจำปีและจำปาจึงมีความน่าสนใจที่จะพัฒนาเป็นตัวยาในทางการแพทย์ในอนาคต
This research has extracted compounds from Michelia alba and M. champaca leaves to study the antioxidant properties of 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) and inhibit the cell proliferation of cholangiocarcinoma (RMCCA-1). The extraction method is performed by the maceration using sequential extraction system. The extraction solvents are different in polarity i.e. hexane, ethylacetate and methanol. The extracts in each solvent system were analyzed preliminarily using thin layer chromatography (TLC) for identifying the distribution pattern. TLC system composed of silica as a stationary phase. The mobile phase for use in the separation is the ratio 4:1 by volume of hexane and ethylacetate. DPPH antioxidant assay indicated that the crude extracts from M. champaca leave have the highest potential for the inhibitory concentration at 50% (IC50) of DPPH with 0.018 + 0.001 mg/ml. This IC50 value is overcome IC50 of standard antioxidant, Butylated hydroxy toluene (BHT), determined to be 0.048 ± 0.002 mg/ml. The comparison of the extracts between each harvesting time; 1st (January), 2nd (April) and 3rd (June) exhibited the significantly different (Oneway ANNOVA, SPSS, p < 0.05) in IC50 of DPPH. This result is suggesting that the season for harvesting caused the amount of active ingredient in M. alba and M. champaca leaves. RMCCA-1 cell cytotoxicity assay was examined by using screening extracted concentration of 50 µg/ml and compared the effect with cholangiocyte (MMNK-1,
normal cell). This screening concentration and the effect against normal cell were used for the decision for determining the IC50 in cell cytotoxicity assay of RMCCA-1. The effective extraction from M. alba in 1st harvesting time in methanol, M. champaca in 2nd harvesting time in ethylacetate and methanol can determine the IC50 for RMCCA-1 cell cytotoxicity to be 13.51 + 1.12, 51.07 + 10.52 and 26.43 + 1.36 µg/ml, respectively. In conclusion, M. alba and M. champaca extraction have antioxidant properties and anti-proliferation of cholangiocarcinoma (RMCCA-1). Therefore, M. alba and M. champaca extraction are very fascinating to develop into pharmaceutical agents in the future.