การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการคิดโมเดลการสร้างทุนมนุษย์ความรู้ท้องถิ่นในเรื่อง ผักพื้นบ้านสำหรับคนรุ่นใหม่ ผ่านกระบวนการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่น โดยมีการใช้บริการเว็บ 2.0 เพื่อสนับสนุนการสร้างทุนมนุษย์ฯ และศึกษาการวัดทุนมนุษย์ความรู้ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่ โดยการศึกษาในครั้งนี้ทำการวิจัยปฏิบัติการ กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านยางแดง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีนักเรียนทั้งหมด 22 คน เข้าร่วมกิจกรรมสร้างทุนมนุษย์ฯ และวัดทุนมนุษย์ และมีความร่วมมือดำเนินกิจกรรมกับครู/อาจารย์ในโรงเรียน และกลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอสนามชัยเขต วิธีการหลักในการเก็บข้อมูลในช่วงดำเนินกิจกรรม ได้แก่ การสังเกตการณ์ ส่วนการวัดทุนมนุษย์เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์ ข้อมูลเชิงปริมาณนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติท้ังเชิงพรรณา และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย One-way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 การศึกษาได้นำเสนอโมเดลการสร้างทุนมนุษย์ความรู้ท้องถิ่นในเรื่องผักพื้นบ้านสำหรับคนรุ่นใหม่ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ความรู้ท้องถิ่น บุคคลที่สร้างทุนมนุษย์และผู้ถ่ายทอดความรู้ กระบวนการถ่ายทอดและสร้างความรู้ และทุนมนุษย์ความรู้ท้องถิ่น โดยกระบวนการถ่ายทอดและสร้างความรู้มีการใช้บริการเว็บ 2.0 กลุ่มที่เน้นเพื่อการเรียนรู้แบบการโต้ตอบ การเรียนรู้ผ่านสื่อ รูปภาพ และการเรียนรู้เป็นกลุ่ม 4 บริการ คือเว็บบล็อก เครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ค คลิปวิดีโอ ทาง Youtube Channel และอัลบัมรูปภาพที่ Flick ในส่วนของการวัดทุนมนุษย์ท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้ได้นำเสนอกรอบการวัดทุนมนุษย์ตามชนิดของทุนมนุษย์ 3 ชนิด คือทุนมนุษย์ความรู้ทางการ ทุนมนุษย์แฝง และทุนมนุษย์เชิงพฤติกรรมบนพื้นฐานของคุณลักษณะของความรู้ท้องถิ่น และบริบทของท้องถิ่น เครื่องมือวัดทุนมนุษย์ฯ ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม 2 ชุด สำหรับนักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน และแบบสำรวจทรัพยากรการเรียนรู้ แบบสอบถามทั้ง 2 ชุดได้ทดสอบความเชื่อถือด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค มีค่าเท่ากับ 0.83 สำหรับแบบสอบถามสำหรับนักเรียน และมีค่าเท่ากับ 0.64 สำหรับแบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง เมื่อนำเครื่องมือมาใช้วัดทุนมนุษย์ฯ ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างทุนมนุษย์ฯ นักเรียนมีคะแนนทุนมนุษย์ เท่ากับ 59.28 คะแนน คิดเป็นระดับปานกลาง และเพิ่มขึ้นเป็น 74.04 คะแนน โดยอยู่ในระดับมาก โดยคะแนนทั้งสองครั้งที่วัดได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อทดสอบความแปรปรวนด้วย One-way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 มีค่า F=11.9524 และ P-value = 0.0013
This study has three main objectives—1) to propose a model of human capital (HC)creation in the area of indigenous knowledge for a young generation through a knowledgetransfer model, 2) to study on use of web 2.0 services to support human capital creation,and 3) to develop human capital measurement tools in the area of indigenous knowledge.This research was action research taken place at Ban Yangdeang elementary school inKuyaimi sub-district, Sanamchaikate district, Chacheonsao province. There were 22students in grade 5 and 6 participating in human capital creation and measurement. Thehuman capital creation activities were conducted with collaboration of teachers at theschool and an organic agricultural group in Sanamchaikate district. The data gatheringtechnique during human capital creation processes was observation. The major datagathering techniques for human capital measurement were questionnaires, in-depth interview and observation. The quantitative data was analyzed with descriptive andinference statistic with One-way ANOVA at confident of 99 per cent. This study proposed a plausible human capital creation model for the area of indigenousknowledge (indigenous vegetable knowledge) for a young generation. The modelcomprised four elements including indigenous knowledge, knowledge senders and humancapital creators, human capital creation processes and human capital measurement. Thehuman capital creation processes have used web 2.0 services in the groups of interaction,learning through visualization and learning in team, to support learning processes ofhuman capital creators. There were weblog, social network-Facebook, video clip on theYoutube channel, and photo albums on Flickr. For human capital measurement, this studyproposed a framework to measure the HC based on three types of HC—formal educationalHC, tacit HC and behavioural HC, characteristics of indigenous knowledge and localcontext. The HC measurement tools comprised questionnaires for students and theirguardians, and a learning resource surveying form. The questionnaires were testedreliability with Cronbachs’ alpha coefficient. Cronbachs’ alpha coefficient for thequestionnaire of students was 0.83 and for the questionnaire of the guardians was 0.64.The human capital of the students before attending the HC creation processes was 59.28which were referred to moderated level of HC and the human capital after attending theHC creation processes was 74.04 which indicated the high level of HC. The HC scoreswere significant difference at the P < .05 level with F(1, 40) = 11.9524 and p = 0.0013.