การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่นของชุมชนที่ยังคงให้ความสำคัญกับความสำคัญของความรู้ท้องถิ่นและกระบวนการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่นจากคนแต่ละรุ่นในชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อสรุปเป็นโมเดลการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่นเรื่องผักพื้นบ้าน ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยศึกษาผ่านกระบวนการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่นเรื่องผักพื้นบ้านของชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยวิธีการศึกษาการวิเคราะห์เรื่องเล่า (Narrative analysis) โดยทำการเก็บข้อมูลจากการเล่าเรื่องของชาวบ้านที่มีความสนใจในเรื่องผักพื้นบ้านในอำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 11 คน และเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนที่ส่งเสริมเรื่องผักพื้นบ้าน ในพื้นที่ 1 คน และการสังเกตการณ์ของนักวิจัยและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีใช้การเข้ารหัสและจัดหมวดหมู่ โดยจัดประเด็นของเนื้อหาที่ค้นพบและกรอบการวิจัย การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ชุมชนในภาคตะวันออก ใน 2 อำเภอ ของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประกอบด้วย 3 กระบวนการย่อยๆ คือ 1) กระบวนการถ่ายทอด 2) กระบวนการรับรู้ และ 3) กระบวนการสร้างความเข้าใจ และการเรียนรู้ โดยแต่ละกระบวนการมีการพิจารณาคัดเลือกความรู้ในการถ่ายทอด และรับความรู้ โดยความรู้แต่ละเรื่องจะมีวิธีการสำหรับแต่ละกระบวนการที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น ในแต่ละช่วงเวลาก็มีวิธีการที่แตกต่างกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างกัน และสภาพสังคมก็เปลี่ยนไป โดยที่แต่ละเรื่องของความรู้ และช่วงเวลามีวิธีการถ่ายทอดความรู้ในกระบวนการที่แตกต่างกันโดยปรากฏการณ์เหล่านี้ได้นำมาเสนอเป็นโมเดลการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่นเรื่องผักพื้นบ้านของชุมชนในภาคตะวันออก เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนในภาคตะวันออกที่สนใจกระบวนการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่นได้นำไปประยุกต์ใช้โดยโมเดลประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ เนื้อหาความรู้ กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ผู้รับการถ่ายทอดความรู้และผู้ถ่ายทอดความรู้ บริบทในการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารข้อมูลโดยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูลที่สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้เรื่องผักพื้นบ้านให้กับคนรุ่นใหม่ได้ ได้แก่ เทคโนโลยีการจัดการเนื้อหาบนเว็บ และเทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อช่วยจัดการเนื้อหาความรู้ และเผยแพร่ความรู้เรื่องผักพื้นบ้านอย่างเป็นระบบและโต้ตอบได้ ซึ่งจะเป็นบริการที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่
This research seeks to explore knowledge transfer processes of indigenous vegetable knowledge to young generation in order to propose plausible indigenous knowledge (IK) transfer model for communities in east region of Thailand. This research used a qualitative method-- narrative analysis. Data were collected through narrative inquiry and participant observation in 2 districts--Sanamchaikate and Thatakeab -- of Chacheonsao province. The respondents were 11 members of seven villages and an non-governmental work who has work for indigenous vegetable promotion in the areas. The data were analysed through theme analysis. The findings of this research reveal that, the communities in two districts of Chacheosao province have indigenous knowledge transfer with three processes -- knowledge transmission, knowledge acquisition and knowledge interpretation which all processes are associated with knowledge screening process. Significantly for this study, different periods of knowledge transfer have different methods of knowledge transfer. This is because environment and contexts have changed. All phenomena found in this research were used to proposed plausible indigenous vegetable knowledge transfer which comprises five components-- knowledge content, knowledge transfer processes, knowledge senders and receivers, context, and information technology and communication (ICT). The ICT that can support indigenous vegetable knowledge transfer to young generation would be content management technology and Web 2.0 technology. These technologies allow to organise content with interactive aspect.