ยาดมสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่การศึกษาเกี่ยวกับยาดมสมุนไพรกับการปนเปื้อนเชื้อรายังมีน้อยมาก ดังนั้นคณะผู้วิจัยทำการตรวจหาชนิดของเชื้อราปนเปื้อนจากยาดมสมุนไพรที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด จังหวัดสมุทรปราการที่ยังไม่ได้เปิดใช้งาน ในระหว่างช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 จ้านวน 15 ยี่ห้อ และจัดจำแนก ด้วยวิธีทางฟีโนทัยป์และจีโนทัยป์ จากตัวอย่างยาดมสมุนไพร 15 ยี่ห้อ พบเชื้อราปนเปื้อนจำนวน 11 ยี่ห้อ (35 ตัวอย่าง) จำนวน 10 – 1,000 CFU/ml ซึ่งไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แบ่งออกเป็นเชื้อฉวยโอกาส 11 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 31.4 ได้แก่ เชื้อ Aspergillus sydowii, Aspergillus aculeatus, Aaspergillus calidoustus, Cladosporium cladosporioides, Penicillium citrinum, Bipolais papendorfii, Clavispora lusitaniaeและ Candida orthopsilosis และเชื้อราที่ยังไม่มีรายงานการก่อโรคในคน/สรุปไม่ได้ 24 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 68.6 ได้แก่ เชื้อ Emericella variecolor, Neurospora intermedia, Trametes polyzona, Glomerella graminicola, Aspergillus spp., Cladosporium spp., Neurospora spp. และ Penicillium spp. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ยาดมที่ตรวจพบเชื้อมากที่สุดคือยาดมสมุนไพรตากแห้ง (ร้อยละ 100) ยาดมสมุนไพรตากแห้งผสมน้้ามันหอมระเหย (ร้อยละ 83.3) และยาดมสมุนไพรบดละเอียด (ส้มมือ) (ร้อยละ 40) ตามลำดับ งานวิจัยครั้งนี้จึงมีข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์ และสนับสนุนให้ผู้บริโภค มีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของยาดมสมุนไพร อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคต้องพิจารณาเลือกใช้ยาดมสมุนไพรที่มี ฉลากและบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเกิดโรคจากเชื้อราที่ปนเปื้อนอยู่ในยาดมสมุนไพร ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ ของผู้บริโภคโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อฉวยโอกาสได้
Herbal Inhaler is made from natural products and has been widely popular. However, there are afew studies about fungal contamination in herbal inhaler. In this study, the researchers detected and classified type of fungal contamination in herbal inhalers which were sold in the Samutprakanprovince. During the period from March 2013 to May 2013, 15 brands of herbal inhalers werecollected, cultured and identified by using phenotypic and genotypic methods. From 15 brands ofherbal inhalers, there were 11 brands (35 samples) which were contaminated with fungi (quantitative determination 10 – 1,000 CFU/ml; fungi < 5x105 CFU/ml). Eleven samples (31.4%) werecontaminated with opportunistic fungi (Aspergillus sydowii, A. aculeatus, A. calidoustus, Clad.cladosporioides, P. citrinum, B. papendorfii, Cl. lusitaniae and C. orthopsilosis) whereas 24 samples (68.6 %) were contaminated with non-pathogenic fungi (E. variecolor, Neu. intermedia, T. polyzona, Glo. graminicola, Aspergillus spp., Cladosporium spp., Neurospora spp. and Penicillium spp.). The herbal inhalers were classified into 3 groups using characterization, all of dried herb inhalers were found contaminated fungi whereas dried herb mixed with essential oil and finely ground herb were found in some brands (100%, 83.3% and 40%, respectively). The results of this study are preliminary for consumers in the benefit and encourage confidence in safety of the herb inhalers. However, consumers need to consider when using herbal salts label and complementary packaging in order to reduce the risk from disease caused by contaminated fungi in herb inhalers. This may cause problems of health, especially respiratory disease in risk of infected human group.