dc.contributor.author |
ธุมวดี สิริปัญญาฐิติ |
|
dc.contributor.author |
Thumwadee Siripanyathiti |
|
dc.contributor.author |
刘淑莲 |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies |
th |
dc.date.accessioned |
2023-01-10T12:29:11Z |
|
dc.date.available |
2023-01-10T12:29:11Z |
|
dc.date.issued |
2019 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1043 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง “การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของเพลงกล่อมเด็กภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็กภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน และ2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่และการเปลี่ยนเเปลงเพลงกล่อมเด็กภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดสมุทรปราการ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวน 17 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มเป้าหมายแบบลูกโซ่ (Snow - ball) ซึ่งสามารถรวบรวมเพลงกล่อมเด็กภาษาจีนในพื้นที่ศึกษาได้จ านวน 7 เพลง ได้แก่ 1) เพลง 唪呀唪 2) เพลง 门脚丛柑 3) เพลง 天顶一只鹅 4) เพลง 目眯眯 5) เพลง 月光光 6) เพลง 火金蛄 และ 7) เพลง 一只鸡仔 โดยแบ่งตามสาระสำคัญของเนื้อเพลงออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) เนื้อหาเกี่ยวกับความรักและการอวยพรของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก 2) เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติหรือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสัตว์และพืชพันธุ์ผลไม้ 3) เนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกเสียใจ ตัดพ้อ และ 4) เนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพและอาหารการกิน ปัจจุบันเพลงกล่อมเด็กภาษาจีนในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการไม่ได้มีความสำคัญเชิงบทบาทหน้าที่ต่อครอบครัวของชาวไทยเชื้อสายจีน กล่าวคือ ไม่ได้นำมาใช้ร้องกล่อมเด็กเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงแปลงไป ทั้งการใช้ภาษาจีนถิ่น ลักษณะโครงสร้างครอบครัว วิถีชีวิตรวมถึงความเจริญของเทคโนโลยีและสื่อบันเทิงต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เพลงกล่อมเด็กภาษาจีนหมดความสำคัญลงไป คงเหลือไว้เพียงคุณค่าเชิงสังคมวัฒนธรรมที่ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงสภาพวิถีชีวิตค่านิยมต่างๆของชาวไทยเชื้อสายจีนในสมัยอดีตที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็ก |
th |
dc.description.abstract |
Research on "The persistence and change of Chinese lullabies of Thai-Chinese people in Samutprakarn Province" aimed to: 1) study the content of Chinese lullabies and 2) discover the factors affecting the persistence and change of the Chinese lullabies of Thai-Chinese in Samutprakarn Province. This qualitative research collected data by interviewing 17 Thai- Chinese people, using a snow-ball random sampling method and found 7 Chinese lullabies in the study site, including 1) 唪呀唪, 2) 门 脚 丛 柑, 3) 天 顶 一 只鹅, 4) 目眯眯, 5) 月光 光, 6) 火 金 蛄 and 7) 一 只鸡 仔. The messages of the lullabies were divided into 4 categories: 1) love and wishes from descent to babies, 2) nature or environment about animals, plants, and fruits, 3) emotion and feeling about sadness with dissatisfaction, and 4) ways of living, working and eating. Nowadays, Chinese lullabies in Samutprakarn province have decreased role and value in Thai-Chinese families. This can be explained that lullabies have not been used due to the changing of residential environment, including Chinese dialect usage, family structure, ways of living, and media and technology advancement. The Chinese lullabies have lost its importance, remaining only the messages with social value, culture, and ways of life of the Thai-Chinese in the past. |
th |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2560 |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
เพลงกล่อมเด็ก -- จีน |
th |
dc.subject |
Lullabies -- China |
th |
dc.subject |
ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) |
th |
dc.subject |
Chinese language -- Study and teaching (Higher) |
th |
dc.subject |
ชาวจีน -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
th |
dc.subject |
Chinese -- Thailand -- Social life and customs |
th |
dc.title |
การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของเพลงกล่อมเด็กภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดสมุทรปราการ |
th |
dc.title.alternative |
Persistence and Change in Chinese Lullabies of Thai-Chinese People in Samutprakarn Province |
th |
dc.type |
Technical Report |
th |