การกระจายตัวของยีนพาราออกโซเนส 1 ในกลุ่มตัวอย่างประชากรไทย Paraoxonase1 (PON1) เป็นเอนไซม์ที่ถูกสังเคราะห์ที่ตับและไตถูกหลั่งออกมาในพลาสมาและจับกับ high-density lipoprotein (HDL) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดย hydrolyze lipid peroxide จึงสามารถป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้ ความเข้มข้นและระดับการทํางานของ PON1 ในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันโดยขึ้นกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม ซึ่งการกระจายตัวของยีน PON1 polymorphisms ที่ตําแหน่ง T-108C, L55M และ Q192R ในแต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาการกระจายตัวของยีน PON1 ในกลุ่มตัวอย่างประชากรไทย จํานวน 207 ราย พบว่าการกระจายตัวของยีน PON1-T-108C มี allele frequency ของ T allele = 0.54 และ C allele = 0.46 โดยมีการกระจายตัวของ genotype แบบ TC (63.3%) > TT (22.2%) > CC (14.5%) ส่วนที่ตําแหน่ง L55M มี allele frequency ของ L allele = 0.77 และ M allele = 0.23 โดยมีการกระจายตัวของ genotype แบบ LL (57.0%) > LM (39.6%) > MM (3.4%) และที่ตําแหน่ง Q192R มี allele frequency ของ Q allele = 0.32 และ R allele = 0.68 โดยมีการกระจายตัวของ genotype แบบ QR (51.2%) > RR (42.0%) > QQ (6.8%) และพบความสัมพันธ์ (linkage disequilibrium) ระหว่าง PON1-T-108C กับ PON1-Q192R อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที p < 0.001 นอกจากนี้ยังพบว่าในประชากรที่มี genotype แบบ TC มีระดับความเข้มข้นของ total cholesterol สูงกว่า genotype แบบ CC อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ในขณะที่ประชากรที่มี genotype แบบ QR และ RR มีระดับความเข้มข้นของ HDL-C ต่ำกว่า QQ genotype อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที p < 0.05 ดังนั้นในประชากรที่มี genotype แบบ TC, QR และ RR อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจมากกว่าประชากรที่มี genotype แบบ CC และ QQ ซึ่งข้อมูลพื้นฐานจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายตัวของยีน PON1 polymorphisms กับโรคหรืออาการทางคลินิกที่พบในกลุ่มประชากรไทยต่อไป
Paraoxonase 1 (PON1), an enzyme expressed in liver and kidney, is secreted into plasma and associated with high-density lipoprotein (HDL). It plays a role as an antioxidant by hydrolyzing lipid peroxide, therefore, resulting in the prevention of atherosclerosis development. The human PON1 gene has three common polymorphisms, T-108C, L55M and Q192R. These polymorphisms are associated with variation of PON1 levels and activities among different ethnic groups, thus this study aimed to evaluate the distribution of PON1 polymorphisms in a total 207 sampling Thai population. Genotype and allele frequency for the PON1-T-108C, PON1-L55M and PON1-Q192R polymorphisms were TC (63.3%) > TT (22.2%) > CC (14.5%) (T allele = 0.54
and C allele = 0.46), LL (57.0%) > LM (39.6%) > MM (3.4%) (L allele = 0.77 and M allele = 0.23), QR (51.2%) > RR (42.0%) > QQ (6.8%) (Q allele = 0.32 and R allele = 0.68), respectively. Moreover, chi-square test showed significant linkage disequilibrium between PON1-T-108C and PON1-Q192R (p < 0.001). The subjects who have TC genotype showed the significant higher levels of total cholesterol than CC genotype (p < 0.05). In addition, the subjects who have QR and RR genotype showed the significant lower levels of HDL-C than QQ genotype (p < 0.05). Together, these results suggested an increased risk of cardiovascular disease in TC, QR and RR genotype. Furthermore, these ethnic variations database can be considered as an important factor
in the interpretation of diseases associated with PON1 polymorphisms in Thai population.