DSpace Repository

การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.author จริยาวัฒน์ โลหะพูนตระกูล
dc.contributor.author Jariyarwat Lohapoontrakool
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts th
dc.date.accessioned 2023-01-13T13:40:13Z
dc.date.available 2023-01-13T13:40:13Z
dc.date.issued 2008
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1050
dc.description.abstract การศึกษาการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร ตำราต่างๆ ประกอบการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ การสำรวจพื้นที่และการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานผู้จำหน่ายสินค้าและนักท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง เพื่อประกอบการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการ เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนเรื่องผลผลิตไม่มีที่จำหน่าย สินค้าราคาตกต่ำ และหลังจากมีแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้ำผึ้งแล้ว สามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชนเรื่องผลผลิตทางเกษตรได้ เพราะมีการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และผลการศึกษาด้านปัจจัยที่ส่งเสริมให้การพัฒนาประสบความสำเร็จพบว่า ปัจจัยภายนอกซึ่งได้แก่กระแสการส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ ของภาครัฐ ที่สร้างความต้องการในการท่องเที่ยวของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นนั้น ทำให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น และปัจจัยภายในของแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้ำผึ้งที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคือ พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติมีเอกลักษณ์ทางท้องถิ่น เพราะเป็นพื้นที่สวนเกษตรดั้งเดิมแบบยกท้องร่อง ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของภาครัฐมาตั้งแต่ปี 2520 และการมีผู้นำที่เข้มแข็งมีความมุ่งมั่นในการพัฒนา และเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการคือดำรงตำแหน่ง นายกอบต.นั้น สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถขยายผลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การพัฒนาด้านคมนาคม สาธารณูปโภคต่างๆ การรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น และผู้จำหน่ายสินค้าในตลาดน้ำส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีน้ำใจ พูดคุยตอบคำถามนักท่องเที่ยวอย่างเต็มใจ จนเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว จึงกล่าวได้ว่า ผู้จำหน่ายสินค้านอกจากขายสินค้าแล้วยังเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ที่ดีให้แก่แหล่งท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง ในส่วนของกระบวนการจัดการเพื่อบรรลุตามองค์ประกอบ 4 ด้านของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน อันได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านพื้นที่ท่องเที่ยว (2) องค์ประกอบด้านการจัดการ (3) องค์ประกอบด้านกิจกรรม กระบวนการ (4) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม พบว่าทำได้ดีในหลายด้าน โดยด้านที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม คือ การส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนพัฒนาตลาดน้ำและการประเมินผลร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้จำหน่ายสินค้า เพื่อสร้างการเรียนรู้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างครบวงจรแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม และเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน th
dc.description.abstract Development and Problem Solving of Community by Community Based on Tourism Management : A case study of Bangnampueng Floating Market, Prapradeng District, Samutprakarn was a qualitative research combined with a quantitative survey. Documentary data, texts, participating observation, formal and informal interview, activity participation, and local area survey were conducted simultaneously with the use of a questionnaire to collect the basic data of both merchants and tourists at Bangnampueng Floating Market to complement data analyses and syntheses and be accompanied with collecting data qualitatively. The study revealed that after the establishment of Bangnampueng Floating Market managed by Office of Bangnampueng District Administration, it has resulted in community development and has provided solutions for an inadequate market problem for local products and low price of products. Obviously, this floating market could assist local people in selling their agricultural products, launching careers, and also increasing their income. In addition, findings of the study in accordance with factors supporting success of development showed that an external factor which is supportive trends launched by the government in various types of tourism to steadily motivate people's needs in travelling simultaneously done with the supports in local tourist attractions could increase more trends of tourism in the local level. Besides, an internal factor of Bangnampueng Floating Market promoting success of development is its natural tourist attractions with local distinctions. This Bangnampueng Floating Market was formed in original lifted ditch agricultural area which has been conserved by the government since 1977. Apart from advantages of its proper location, an efficient leader also plays a vital role in community. According to Bangnampueng community, the leader has generally attempted to develop his community and he is officially selected as the chairman of the Office of Bangnampueng District Administration who can allocate the budget to develop the tourist attractions continuously and can also widely extend the results of tourism development to link with development in other aspects such as transportation, infrastructure, and culture and custom restoration. Most of the merchants at Bangnampueng Floating Market are friendly, helpful, and willing to answer tourist's questions and these are the reasons why this floating market has never failed to impress the tourists. It can be said that the sellers do not only sell the products but they also perform as good promoters for their community. According to managing process to reach the 4 components of an Eco-Tourism (ecological tourism) managed by community, although great satisfaction was found in several aspects, there were still some improvements. One of the important improvements was to encourage the community to have the floating market development plan and both organization and merchants should evaluate the plan. This could help any related sectors to have learning through participation process completely. Additionally, it could decrease possible environmental effects and strengthen the community in developing stable tourism. th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2549 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การพัฒนาชุมชน th
dc.subject Community development th
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ th
dc.subject Ecotourism th
dc.subject การจัดการตลาด th
dc.subject Marketing -- Management th
dc.subject การมีส่วนร่วมของชุมชน th
dc.subject Community participation th
dc.subject ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง (สมุทรปราการ) th
dc.subject Bangnamping Floating Market (Samutprakarn, Thailand) th
dc.title การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ th
dc.title.alternative Development and Problem Solving of Community by Community Based Tourism Management : A Case Study of Bangnamping Floating Market, Prapradeng District, Samutprakarn th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account