การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชนภาคกลางเชิงปริมาณ เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการและวัฒนธรรมขององค์การ โดยใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบสำมะโน (census) ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้จะใช้ประชากรในการศึกษาทั้งสิ้น 11 มหาวิทยาลัย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เชิงสถิติพรรณา คือ ร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน แบบสอบถามที่ได้มีค่า Cronbach’s alpha เท่ากับ 0.88 จากการวิเคราะห์พบว่าในภาพรวมของมหาวิทยาลัย มีรูปแบบของวัฒนธรรมเป็นแบบ วัฒนธรรมแบบราชการ วัฒนธรรมแบบเครือญาติ, วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ และวัฒนธรรมแบบปรับตัว และมีเครื่องมือการจัดการเป็น Learning Organization : องค์การแห่งการเรียนรู้ CSR : ความรับผิดชอบด้านสังคมขององค์การธุรกิจ, Knowledge-based Organization : องค์กรที่มุ่งความรู้ และ ISO : มาตรฐานผลิตภัณฑ์ตามลำดับ สำหรับความเห็นของบุคลากรที่เป็นผู้บริหารและที่ไม่เป็นผู้บริหารใช้การวิเคราะห์ที่มีระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าประชากรทั้งสองกลุ่มมีความเห็นตรงกันคิดเป็นร้อยละ 70 ในเรื่องเครื่องมือจัดการ และสำหรับความเห็นด้านสอดคล้องของเครื่องมือการจัดการกับวัฒนธรรมพบว่าประชากรทั้งสองกลุ่มมีความเห็นไม่แตกต่างกันในทุกมิติคิดเป็นร้อยละ 50 และความพึงพอใจในภาพรวมของการใช้เครื่องมือการจัดการในวัฒนธรรมองค์กร พบว่ามีผู้บริหารมีพอใจมากกว่าบุคลากร
Objective of this research is to survey quantitatively the satisfaction of member of Faculty of Business Administration of the private universities in central of Thailand about the management tools and corporate cultures of organization. Questionnaires are collected in census approach form 11 universities within the Faculty of Business Administration. The data are analyzed in terms of the descriptive study of frequency distribution, mean, percentage, standard deviation and Independent sample T-Test. The reliability is obtained by means of Cronbach’s alpha coefficient which give a value of 0.88. The results reveal that is general view, the type of corporate culture is Bureaucratic Culture, Clan Culture, Achievement Culture, and Adaptability Culture and the management tools are Learning Organization, CSR, Knowledge-based Organization, and ISO, respectively. The members satisfaction of administrator and non-administrator with 95% reliability, show that 70% feel agreed in type of management tool, 50% feel agreed in the agreement of management tool and corporate culture. However, in general the administrator feel more satisfaction than non-administrator.