การศึกษาความชุกพยาธิเข็มหมุดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิธีสกอตซ์เทป เทคนิค ระหว่างเดือนมกราคม 2543 ถึงเดือนมีนาคม 2543 เพื่อเปรียบเทียบระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดของเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียนกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเด็กนักเรียน โดยทำการศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษา อายุตั้งแต่ 6-10 ปี ของโรงเรียน 5 แห่ง ในเขตอำเภอบางพลี คือโรงเรียนคลองบางแก้ว โรเรียนธนสิทธิ์อนุสรณ์ โรงเรียนคลองบางกระบือ โรงเรียนวัดบางพลีใหญ่ใน และโรงเรียนเตรียมปริญญานุสรณ์ โดยการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดทางทวารหนัก โดยวิธีสกอตซ์เทป เทคนิค และให้ผู้ปกครองกรองแบบสอบถามสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ใช้การทดสอบไคสแควร์ในการทดสอบความสัมพันธ์ เด็กนักเรียน 783 คน เพศชาย 395 และเพศหญิง 388 จากการศึกษาพบว่าความชุกของการติดเชื้อพยาธิเข็ดหมุนสูงถึง 38.7% พบความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของการติดเชื้อพยาธิเข็ดหมุดกับอายุและเพศของนักเรียนส่วนภูมิหลังทางเศรษฐกิจด้านรายได้ และอาชีพผู้ปกครองกับอัตราการติดเชื้อนั้นไม่มีความสัมพันธ์กัน
A Study on the prevalence of Enterobius vermicularis in Primary School Students in Bangplee District Samutprakarn Province by used Scotch Tape technique was undertaken from January to March 2000. This study were comparative between prevalence of enterobiasis and socioeconomic background each primary school, aged between 6-10 year, from five school in Bangplee Distric ; Kongbangkaew, Tanasithanusorn, Kongbangkaburn, Watbangpleeyainai, and Trimpalinyanusorn school. We uses Scotch Tape technique for pin worm eggs diagnosis and questionare for socioeconomic background of student. We used chi-square for correlation analysis. There were 783 subjects, 395 male and 388 female Diagnosis was done by means of scotch tape technique. It revealed that 1) the worm was found in 38.7% of students, 2) there was a correlation between such prevalence and student sex and age 3) the parental socioeconomic backgrounds (Parental income and parental occupation) had nothing to do with the prevalence of the enterobiasis (P<0.05).