DSpace Repository

การเปรียบเทียบผลการพยากรณ์เกรดเฉลี่ยระหว่างวิธีโครงข่ายประสาทเทียมกับวิธีการถดถอยพหุคุณจากพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author ธนาวุฒิ ประกอบผล
dc.contributor.author Tanawut Prakobpol
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology th
dc.date.accessioned 2023-01-18T05:58:38Z
dc.date.available 2023-01-18T05:58:38Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1071
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาและประยุกต์ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลในการพยากรณ์เกรดเฉลี่ยด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมและวิธีการถดถอยพหุคูณ 2) เพื่อหารูปแบบและค่าพารามิเตอร์ของโครงข่ายประสาทเทียมที่เหมาะสมกับการพยากรณ์เกรดเฉลี่ย 3) เพื่อตรวจสอบผลการพยากรณ์ด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมและวิธีการถดถอยพหุคูณ โดยใช้เกณฑ์ในการเปรียบเทียบจากการวัดความคลาดเคลื่อน 2 แบบ ได้แก่ รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Square Error หรือ RMSE) และเปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percentage Error หรือ MAPE) วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 คน จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณและวิธีโครงข่ายประสาทเทียมและตรวจสอบความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบหลายชั้น (Multi Layer Percetron) แบบแพร่ย้อนกลับ (Backpropagation Neural Networks) ที่กำหนดให้ชั้นข้อมูลป้อนเข้า (Input Layer) จำนวน 11 นิวรอล ชั้นแอบแฝง (Hidden Layer) จำนวน 3 นิวรอล และชั้นผลลัพธ์ (Output Layer) จำนวน 1 นิวรอล ฟังก์ชันการแปลง (Transfer Function) คือ ฟังก์ชันซิกมอยด์ (Sigmoid Function) และกำหนดค่าพารามิเตอร์จำนวนรอบการสอนเท่ากับ 5000 รอบ ค่าสัมประสิทธิ์การเรียนรู้ (η) = 1.0 และค่าโมเมนตัม (α) = 0.5 เป็นวิธีการพยากรณ์ที่แม่นยำที่สุดเมื่อพิจารณาค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย โดยมีค่าเท่ากับ 0.182426 2. รูปแบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบหลายชั้น (multi Layer Percetron) แบบแพร่ย้อนกลับ (Backpropagation Neural Networks) ที่กำหนดให้ชั้นข้อมูลป้อนเข้า (Input Layer) จำนวน 17 นิวรอล ชั้นแอบแฝง (Hidden Layer) จำนวน 4 นิวรอล และชั้นผลลัพธ์ (Output Layer) จำนวน 1 นิวรอล ฟังก์ชันการแปลง (Transfer Function) คือ ฟังก์ชันซิกมอยด์ (Sigmoid Function) และกำหนดค่าพารามิเตอร์จำนวนรอบการสอนเท่ากับ 5000 รอบ ค่าสัมประสิทธิ์การเรียนรู้ (η) = 1.0 และค่าโมเมนตัม (α) = 0.5 เป็นวิธีการพยากรณ์ที่แม่นยำที่สุดเมื่อพิจารณาค่าเปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย โดยมีค่าเท่ากับ 5.260494% th
dc.description.abstract The three objectives of this research proposed to study and forecast Grade Point Average (GPA) by using Neural Network and Multiple Regression Methods, to find the model and parameter of Neural Network and to examine the Grade Point Average (GPA) forecasting results by comparing errors with two measurements; Root Mean Square Error (RMSE) and Mean Absolute Percentage Error (MAPE). The sampling was 165 students from undergraduate in Faculty of Science and Technology, Huachiew Chalermprakiet University. Data collections was result from Descriptive Statistics, Factor Analysis, Multiple Regression and Neural Network then examine the error of forecasting result. Research conclusions were as followed: 1. The application of a Multi Layer Percetron Neural Network using by Backpropagation give highest efficiently for forecasting value with Root Mean Square Error = 0.182426, network structure of 11:3:1, represented for the node of input-hidden-output, transfer function was sigmoid function, and define the parameters of the teaching of 5000, the coefficient of learning (η ) = 1.0, and the momentum (α ) = 0.5. 2. The application of a Multi Layer Percetron Neural Network using by Backpropagation give highest efficiently for forecasting value with Mean Absolute Percentage Error = 5.260494%, network structure of 17:4:1, represented for the node of input-hidden-output, transfer function was sigmoid function, and define the parameters of the teaching of 5000, the coefficient of learning (η ) = 1.0 , and the momentum (α ) = 0.5. th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2553. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject นิวรัลเน็ตเวิร์ค (วิทยาการคอมพิวเตอร์) th
dc.subject Neural networks (Computer science) th
dc.subject อินเทอร์เน็ต -- การศึกษาการใช้ th
dc.subject Internet -- Use studies th
dc.subject แบคพรอพาเกชั่น (ปัญญาประดิษฐ์) th
dc.subject Back propagation ‪(Artificial intelligence)‬ th
dc.subject แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ th
dc.subject Mathematical models th
dc.title การเปรียบเทียบผลการพยากรณ์เกรดเฉลี่ยระหว่างวิธีโครงข่ายประสาทเทียมกับวิธีการถดถอยพหุคุณจากพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative A Comparison of Forecasting Grade Point Average between Neural Network and Multiple Regression Methods from Internet Usage Behavior among Students in Faculty of Science and Technology, Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account