งานวิจัยนี้ เป็นการพัฒนาระบบแนะนำวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ โดยระบบจะแสดงข้อมูลวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้แก่ผู้ใช้งานตามอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเป้าหมายหลัก คือ โรงเรียนและชุมชนในตำบลศีรษะจระเข้น้อย โดยรวบรวมข้อมูลปัญหาทางคอมพิวเตอร์ที่พบจากการดำเนินโครงการคลินิกคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่เพื่อชุมชนในตำบลศีรษะจระเข้น้อย การใช้งานของระบบแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) รูปแบบของปัญหาจะมีวิธีการแก้ไขหลายวิธี ซึ่งเริ่มต้นข้อคำถามด้วยปัญหาที่ผู้ใช้พบ ตามด้วยวิธีการแก้ปัญหา ตามลำดับ 2) รูปแบบการถาม-ตอบ กับผู้ใช้โดยตรง โดยใช้ชุดคำถามที่กำหนดให้มี 2 คำตอบ คือ ใช่/ไม่ใช่ แต่เริ่มต้นข้อคำถามด้วยปัญหาที่ผู้ใช้พบ ตามด้วยปัญหารอง ตามลำดับ และ 3) อยู่ในรูปแบบของปัญหาที่มีวิธีการแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียว จากการทดสอบและทดลองใช้ระบบในโรงเรียนต้นแบบ ระบบสามารถทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และเมื่อทำการประเมินระบบโดยใช้แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านต่าง ๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ได้แก่ ครูผู้ดูแลห้องปฏิบัติการ จำนวน 3 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ใช้ทั่วไป จำนวน 100 คน พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี และได้นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในโรงเรียนบ้านท้องคุ้งพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้ร้อยละ 100 ทั้งนี้ ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปพัฒนาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมให้ปัญหาทุกด้านของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างและเพิ่มพูนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
This research describes a development of a web-based recommendation system for basic computer troubleshooting by providing the users with basic solutions based on the occurred symptoms. The data was obtained from the nationwide mobile computer clinic project by targeting at the schools and community of Srisajorakaenoi Subdistrict. The usage of the system can be categorized into 3 main options. Option 1, one problem provides with multiple solutions, starting with user’s problem then following by the solutions. Option 2, the system functions by directly gathering the information using true or false questions, which starts from the original user problem, follow by string of sub questions, consecutively. Option 3, the system provides with only one unique suitable solution. After preliminary testing and finding at the prototypical targets, it is concluded thatthe system met its objectives. Furthermore, the system evaluation is conducted by distributing questionnaires to 3 target groups, namely computer instructor (main target - 3 subjects), experts in computing field (5 subjects), and general users (100 subjects). The results show with an acceptable level of satisfaction. Moreover, the system is also used at Bann-Tong Kung School and received the perfect outcome. Lastly, this developed system can be further utilized by expanding the scale of solutions to cover every computing aspects. This can be the way to produce andacquire knowledge base to improve a quality of life for the community sustainably.