ทําการตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อแอนติเจนของเชื้อ Leptospira interrogans, Burkholderia pseudomallei และ Orientia tsutsugamushi ที่เคลือบแยกชนิดบนสไลด์หลุมเดียวกันด้วยวิธีอินไดเร็คอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์เพื่อตรวจกรองโรคทั้งสามในระยะเฉียบพลันในคราวเดียวจากตัวอย่างซีรัมจํานวน 200 ตัวอย่าง ประกอบด้วยซีรัมผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส เมลิออยโดซิส และสครับไทฟัส จํานวน 93 ตัวอย่างและตัวอย่างซีรัมควบคุมจากผู้ป่วยโรคอื่น ผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดจํานวน 107 ตัวอย่างผลการทดสอบพบว่า วิธีดังกล่าวมีความสอดคล้องในระดับดีกับการทดสอบที่ใช้แอนติเจนชนิดเดียวในการทดสอบแต่ละครั้งอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (κ = 0.85, p<0.05) โดยพบผลบวกปลอมของเมลิออยโดซิสจากซีรัมของผู้ที่อยู่ในพื้นที่การระบาด 1 ตัวอย่าง และผลลบปลอม 13 ตัวอย่าง จากซีรัมผู้ป่วยโรคเมลิออยโดซิส อย่างไรก็ตามยังต้องทําการศึกษาเพิ่มเติมโดยการเพิ่มจํานวนกลุุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะตัวอย่างซีรัมของผู้ปวยโรคเมลิออยโดซิสและผู้ที่อยู่ในพื้นที่การระบาด
Detection of IgM antibodies against Leptospira interrogans, Burkholderia pseudomalleiand Orientia tsutsugamushi using three separated antigens in the same well of microscopic slidewas performed by indirect immunofluorescent assay (IgM IFA). Two hundred serum samples werecollected from 93 leptospirosis, melioidosis or scrub typhus cases and 107 controls consisting ofother diseases, healthy population and inhabitant of endemic area. The agreement rate whencomparing qualitative results from three separated antigen IgM IFA and single antigen IgM IFAwas 0.85 by Kappa analysis. One inhabitant of endemic area gave false positive result formelioidosis while 13 melioidosis cases gave false negative results. However, this study is stillgoing on in order to increase the sample size especially melioidosis cases and inhabitant ofendemic area.