สมุนไพรจีนเป็นการแพทย์แผนทางเลือกที่กาลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่ยังขาดข้อมูลความปลอดภัยในการบริโภค งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนโลหะหนัก จุลินทรีย์และอะฟลาทอกซินในสมุนไพรจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย 5 ชนิด รวม 25 ตัวอยาง ได้แก่ หวงฉี ตังกุย โก่วฉีจื่อ ซานเย่า ต้าจ่าว โดยตรวจหาโลหะหนัก ได้แก่ สารหนู แคดเมียม และตะกวั่ โดยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์จุลินทรีย์ทั้งหมด ได้แก่ จำนวนแบคทีเรียแอโรบส์ จำนวนเชื้อยีสต์และรา แบคทีเรียก่อโรค ได้แก่ Staphylococcus aureus, Salmonella spp. และ Clostridium spp. โดยวิธีทางจุลชีววิทยา รวมถึงอะฟลาทอกซินโดยวิธี ELISA ผลพบว่าสมุนไพรจีน 16 ตัวอย่าง จาก 25 ตัวอย่าง มีค่าการปนเปื้อนของโลหะหนัก จำนวนแบคทีเรียแอโรบส์ จำนวนเชื้อยีสต์และราต่ำกว่าเกณฑ์ของแต่ละมาตรฐาน และไม่พบเชื้อ S. aureus และ Salmonella spp. คิดเป็ นร้อยละ 64.0 และค่าการปนเปื้อนสูงกว่าเกณฑ์ทางจุลชีววิทยา โดยพบเชื้อ Clostridium spp. ปนเปื้อน 9 ตัวอยาง่ คิดเป็นร้อยละ 36.0 ดังนั้นผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับปัญหานี้และดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยต่อไป
The increasing popularity use of Chinese herbs as an alternative medicine has sparked an interest in understanding their safety. This study aimed to detect heavy metal, microorganisms andaflatoxin contamination in Chinese herbs mainly used in Thailand. Five commonly consumed Chineseherbs, Milkvetch root (Astragalus membranaceus (Fisch) Bge. var. mongholicus (Bge.) Hsiao),Chinese Angelica (Angelica sinensis (Oliv.) Diels), Goji Berry (Lycium barbarum L.), Chinese yam(Dioscorea opposita Thunb.) and Jujube (Ziziphus jujuba Mill.) were evaluated in this study.Detections of heavy metal (arsenic, lead, cadmium), microorganisms (total viable count ; total aerobic microbial count, total yeast and mold count) pathogenic bacteria (Staphylococcus aureus, Salmonella spp., Clostridium spp.) and aflatoxin contamination were conducted with atomic absorption spectrophotometer, microbiological procedure and ELISA, respectively. Sixteen samples from 25 samples (64.0%) passed the acceptable limits of each standard criteria. Nine samples (36.0%) failed compared to the microbiological criteria because of Clostridium spp. contamination. The amounts of total aerobic microbial count, total yeast and mold count, aflatoxin and heavy metals were detected under acceptable limit whereas Salmonella and S. aureus were not found in any samples. Therefore, consumer and related organizations should pay more attention and solve this problem systematically and continually for safety improvement.