วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยของประชาชนในชุมชนแออัดคลองเตย กรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องและ 3) พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยของประชาชนในชุมชนแออัดคลองเตย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นประชาชนที่พักอาศัยในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนมีนาคม 2551 ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการใช้แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบัค ระหว่าง 0.60-0.92 ประกอบด้วยข้อคำถาม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัย ได้แก่ อายุ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนทางสังคม ความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนด้านสุขภาพ ความรู้ การรับรู้ ความตั้งใจในการมีพฤติกรรม และพฤติกรรม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์อิทธิพล ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัย ของประชาชนในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง ( = 54.07) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลที่พักอาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนด้านสุขภาพ ความรู้ การรับรู้ (p<0.001) และความตั้งใจในการมีพฤติกรรม (p<0.01) 3) ผลการตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ภายหลังการปรับแก้ มีค่าไคสแควร์ (*2)เท่ากับ 3.32 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 5 ความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.65 ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 และค่าขนาดตัวอย่างวิกฤติ (CN) เท่ากับ 2267.87 จากโมเดลรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ แสดงให้เห็นว่า อายุ การสนับสนุนทางสังคม ความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนด้านสุขภาพ และความตั้งใจในการมีพฤติกรรมส่งอิทธิ-พลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัย โดยปัจจัยที่ศึกษาร่วมกันทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยได้ร้อยละ 13 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการดำเนินการจัดโปรแกรมในรูปแบบปฏิบัติการโดยเน้นการสนับสนุนทางสังคมและเสริมสร้างความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยดีขึ้น สำหรับผู้ที่วิจัยในเรื่องที่ใกล้เคียงกันควรศึกษาปัจจัยอื่นที่มีความเกี่ยวข้องให้มากขึ้น
The purpose of this research were to 1) evaluate the household environment and sanitation behaviors of people in Khlong Toei community, Bangkok 2) determine the relationship between household environment and sanitation behaviors and the related factors and 3) develop a causal model toward household environment and sanitation behaviors of people in Khlong Toei community, Bangkok The sample of this study comprised of 500 people living in Klhong Toei community, Bangkok, during October 2007 to March 2008. Multistage Sampling technique was used and data collection was done by a questionnaires with the alpha Cronbach reliability between 0.60-0.92 that was assessed on factors associated with household environments and sanitation behaviors : age, socioeconomic status social support, internal-external health locus of control, knowledge, perception, intention to practice and to practice behaviors. Percentage, mean, standard deviation, Pearson’ s correlation coefficient and path analysis were used for statistical analysis. The results of this study could be conducted as follow: 1) The mean score of the household environment and sanitation behaviors of people at Khlong Toei community, Bangkok, was in a middle level, = 54.07. 2) Factors significantly related to household environment and sanitation behaviors were internal-external health locus of control, knowledge, perception (p<0.001) and intention to practice behaviors (p<0.01). 3) The modified causal relationship model of household environment and sanitation behaviors were fitted to the empirical data with a chi-square of 3.32, df = 5, p = 0.65, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.00 and CN = 2222.67. The model reveal that the factors affected both direct and indirect to household environment and sanitation behaviors were age, social support, internal-external health locus of control and intention to practice. The model accounted for 13 percent of the variance on household environment and sanitation behaviors. The researcher suggested that the action programme focus on social support and internal-external health locus of control reinforcement should be applied to encourage household environment and sanitation behaviors of people in Khlong Toei community and others communities in Bangkok. For the resemblance researcher should have to study the other variables that be concerned.