DSpace Repository

การศึกษาด้านความมั่นคงทางครอบครัวของกลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรมพาณิชกรรมและบริการในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.author ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.author Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare th
dc.date.accessioned 2023-01-29T07:54:15Z
dc.date.available 2023-01-29T07:54:15Z
dc.date.issued 1997
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1109
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องการศึกษาความมั่นคงทางครอบครัวของกลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการในจังหวัดสมุทรปราการนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบลักษณะของครอบครัวของแรงงานในภาคต่างๆ รวมทั้งทัศนคติต่อตนเองและสุขภาพจิตของกลุ่มเป้าหมายที่มีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว การใช้เวลาในครอบครัวและการเลี้ยงดูลูกโดยใช้ความรัก และผลของปัจจัยด้านครอบครัวทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวที่มีต่อความมั่นคงในครอบครัว โดยทำการศึกษากลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการในจังหวัดสมุทรปราการ เก็บข้อมูลจากตัวอย่างทั้งสิ้น 333 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. การมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง มีผลให้ผู้นั้นมีความสัมพันธ์ในครอบครัวดี มีการใช้เวลากับครอบครัวอย่างมีคุณภาพและมีความมั่นคงในครอบครัวสูง โดยครอบครัวที่สมรสและอยู่ด้วยกันจะมีลักษณะทางครอบครัวดังกล่าวดีที่สุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวในภาคพาณิชยกรรม 2. ครอบครัวที่ไม่สมรสและอยู่ด้วยกัน จะมีทัศนคติต่อตนเองต่ำ ทำให้มีความสัมพันธ์ในครอบครัวระดับต่ำและมีการใช้เวลาในครอบครัวไม่ดีนัก ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวในภาคอุตสาหกรรม 3. ครอบครัวที่ไม่สมรสและอยู่ด้วยกัน ซึ่งมีลักษณะทางครอบครัวที่ไม่มั่นคง มีผลมาจากการมีปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะครอบครัวในภาคบริการ คือมีอายุน้อย มีรายได้เฉลี่ยต่ำ ไม่มีบ้านเป็นของตนเอง ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยตนเองได้ โดยมีสัดส่วนการส่งลูกกลับไปให้ตายายเลี้ยงสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบครอบครัวแรงงานทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าครอบครัวแรงงานในภาคพาณิชยกรรม ซึ่งลักษณะครอบครัวเป็นผู้สมรสและอยู่ด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ มีความมั่นคงในครอบครัวสูงที่สุดส่วนครอบครัวในภาคอุตสาหกรรม มีความมั่นคงในครอบครัวในระดับต่ำกว่าแรงงานกลุ่มแรก เนื่องจากการมีทัศนะคติต่อตนเองต่ำและมีความสัมพันธ์ในครอบครัวต่ำ และแรงงานในภาคบริการมีความมั่นคงในครอบครัวต่ำที่สุด เกิดจากการมีปัจจัยคุณภาพชีวิตค่อนข้างต่ำ th
dc.description.abstract A study on families of labours in industrial, commercial and service sectors in Samutprakarn Province aims to study the relationship of self-attitudes and mental health with family relationship, time-used and child rearing types of labour’s families and also to find factors effected labour families’s security. The data was collected from 333 samples from 3 sectors of occupations. The results showed that labours in commercial sector had highest level of family security, as a result of commercial laborus mostly were married and lived together with spouses, had good self-attitued and normal mental health. Lobours in families in industrial sector mostly had low self-attitudes which minimized family’s relationship and time-used quality in the families. Labours in families in service sector had lowest level of family’s security as from most of them had low quality of lives, such as: mostly young, had low income, unable to take care their own children, etc. The result of the analysis revealed that family relationship, time-used quality, self-attitudes and child rearing type effeced family’s security of labour’s families. th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2540 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject แรงงาน -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject Labor -- Thailand -- Samut Prakarn th
dc.subject ครอบครัว -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject Families -- Thailand -- Samut Prakarn th
dc.title การศึกษาด้านความมั่นคงทางครอบครัวของกลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรมพาณิชกรรมและบริการในจังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative A Study On Families Of Labours In Industrial, Commercial And Service Sectors In Samutprakarn Province th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account