DSpace Repository

การศึกษาวิเคราะห์ประเด็นความหมายด้านวัฒนธรรมข้ามชาติในเอกสารและตำราเกี่ยวกับการแปลของไทย

Show simple item record

dc.contributor.author เตือนจิตต์ จิตต์อารี
dc.contributor.author Tuanjit Jitaree
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts th
dc.date.accessioned 2023-01-29T12:51:43Z
dc.date.available 2023-01-29T12:51:43Z
dc.date.issued 2010
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1111
dc.description.abstract การศึกษาคําสุภาษิตสอนใจในเอกสารและตําราการแปลครั้งนี้ มุ่งวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการแปลคําสุภาษิต สํานวนโวหาร คําพังเพย และคําอุปมาอุปไมยในภาษาไทย และภาษาอังกฤษจำนวน 10 เล่ม นอกจากนี้แล้วได้ศึกษาถึงประเด็นการเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม (transcultural comparison) โดยศึกษาความหมายของคำสุภาษิตสอนใจ อัตลักษณ์ของคําสุภาษิตสอนใจในสามภาษา คือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน วิเคราะห์มุมมองของคนภายในวัฒนธรรมในด้านวิถีชีวิต การทําธุรกิจ และความสามัคคี การดําเนินการวิจัยในส่วนแรกใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติร้อยละ ความถี่ และจำนวนการนําเสนอการแปลคําสุภาษิต สํานวนโวหาร คําพังเพย และคําอุปมาอุปไมย ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเอกสารตําราการแปลของไทยจํานวน 10 เล่ม และเปรียบเทียบสัดส่วนและจํานวนรูปแบบการแปล 4 วิธี คือ การแปลแบบตรงตัวตามต้นฉบับ การแปลแบบเทียบเคียง การแปลแบบขยายความ และการแปลแบบตีความ ส่วนที่สองคัดเลือกประเด็นวัฒนธรรมข้ามชาติที่น่าสนใจจากคําสุภาษิตสอนใจภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนที่มีความหมายคล้ายคลึง แล้วจัดหมวดหมู่เป็นสามด้านคือ ด้านวิถีชีวิต การทําธุรกิจ และความสามัคคีด้านละ 20 ชุด ผลการวิเคราะห์ในส่วนแรกพบว่า เอกสารตําราการแปลจัดพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ถึง ปี พ.ศ. 2549 ทุกเล่มที่มีการแปลคําสุภาษิต สํานวน โวหาร คําพังเพย และคําอุปมาอุปไมย ด้วยวิธีการแปล 4 วิธีคือ วิธีการแปลแบบตรงตัวตามต้นฉบับ วิธีการแปลแบบเทียบเคียง วิธีการ แปลแบบขยายความ และวิธีการแปลแบบตีความ ประเภทของคําที่มีมากสุดคือ สํานวน โวหาร ส่วนใหญ่มุ่งที่จะสอนใจให้ทําความดี อย่าประมาท อย่าทำชั่วและยึดมั่นในศาสนา วิธีการแปลที่ผู้แปลใช้มากที่สุดคือ การแปลแบบตรงตัว ส่วนวิธีการแปลที่นอกเหนือจาก 4 แบบคือ การแปลเปรียบตามหลักสากล(universal) และการเปรียบตามวัฒนธรรม(culture) ผลจากการศึกษาวิจัยในส่วนแรก ใช้เป็นแนวทางนำมาสู่การศึกษาวิจัย และในส่วนที่สองเป็นประเด็นวัฒนธรรมข้ามชาติที่ปรากฏในคําสุภาษิตสอนใจ ในขอบเขตของความหมายสอนใจ อัตลักษณ์ของคำภาษิตในสามภาษา การเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม (transcultural comparison) และมุมมองของคนภายในวัฒนธรรม (emic perspectives) ผลการวิเคราะห์ในสวนที่สองพบว่า คําสุภาษิตสอนใจสามภาษาในด้านวิถีชีวิต ด้านธุรกิจและด้านความสามัคคีรวม 60 ชุด ที่เหมือนกันทั้งสามภาษามีจํานวน 10 ชุด นอกนั้นมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องจุดเน้นที่สําคัญ และมีประเด็นปลีกย่อยที่ต่างกัน เช่น การยกตัวอย่างของสัตว์ต่างกัน ทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ตัวอย่างเชาน เรื่องของการทํากิจการต่าง ๆ ไม่จําเป็นต้องทําให้เป็นเรื่องใหญ่เกินเหตุ คําสอนใจไทยว่าอย่าขี่ช้างจับตั๊กแตน ส่วนคําสุภาษติอังกฤษเน้นว่า อย่าจับผีเสื้อด้วยปืนใหญ และคําสุภาษิตจีนเน้นว่าไม่จําเป็นต้องใช้กระทะตามวัวมาผัดไก่ th
dc.description.abstract This research project had two objectives. The first one was to study the contents of proverb translation in 10 selected Thai and English translation textbooks with the quantitative approach. The second one was to study transcultural aspects of proverb translation in three languages: Thai, English and Chinese. The transcultural aspects emphasized three categories. These were proverbs for ways of life, doing business, and promoting unity. Each category consisted of twenty sets of proverbs in 3 languages. The methods of studying transcultural aspects were transcultural comparisons in finding the meanings, cultural identities and emic perspectives. The findings of the first objective were drawn from10 selected Thai and English translation textbooks published during 1971 to 2006. There were translations of adages, idioms, sayings, maxims, mottos, and proverbs in each textbook. Most of these words were reminding people to do good deeds. Idioms were the most commonly used literary technique in these textbooks. There were 4 methods of translation – direct, compared meaning, enlarged meaning, and non-figurative translations. The most popular method of translation was direct translation. Some other translation methods were universal and cultural. The findings of the second objective focused on sixty sets of three language-proverbs on ways of life, doing business, and promoting unity. Only ten out of sixty sets were similar in all three languages. The remaining fifty sets had close meanings but were different in the use of animal symbols, because of the different cultures, environments, weather and landscapes. For example, in the set of not doing something bigger than it needs to be- the satirical meaning was; in the Thai proverb - Ride not an elephant to hunt a grasshopper; in the English proverb-Take not a musket to kill a butterfly; in the Chinese proverb- Don’t use the big pan that could be used for a whole cow to stir fry chicken. th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2550 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject สุภาษิตและคำพังเพยไทย th
dc.subject Proverbs, Thai th
dc.subject ภาษาไทย -- การแปล th
dc.subject Thai language -- Translating th
dc.subject การศึกษาข้ามวัฒนธรรม th
dc.subject Cross-cultural studies th
dc.subject อัตลักษณ์. th
dc.subject Identity (Philosophical concept) th
dc.subject ภาษาไทย -- คำและวลีภาษาต่างประเทศ th
dc.subject Thai language -- Foreign words and phrases th
dc.title การศึกษาวิเคราะห์ประเด็นความหมายด้านวัฒนธรรมข้ามชาติในเอกสารและตำราเกี่ยวกับการแปลของไทย th
dc.title.alternative Transcultural Aspects of Selected Thai Translation Textbooks th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account