DSpace Repository

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ณวรุณ สีน้ำเงิน
dc.contributor.author สถาพร สุวรรณรัตน์
dc.contributor.author จงกลนี สุกิจวรรณี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ th
dc.date.accessioned 2023-02-04T02:35:32Z
dc.date.available 2023-02-04T02:35:32Z
dc.date.issued 1994
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1128
dc.description.abstract โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดดชลบุรีจำนวน 44 โรงงาน เป็นโรงงานตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวก้บการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี แบบสอบถามแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ 1) ข้อมูลทั่วไปของโรงงานอุตสาหกรรม; 2) ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโรงงานและการพัฒนาระบบ; 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรม และ 4) ปัญหาของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารและการผลิต การวิเคราะห์ข้อมูลของโรงงานทั้ง 44 โรงงานจะใช้โปรแกรม SPSS โดยหาค่าทางสถิติอันได้แก่ Frequencies, Mean, Standard Deviation และ Coefficient of Variation การสำรวจจัดทำโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และการสัมภาษณ์ โดยส่งแบบสอบถามไปจำนวนมากกว่า 1,000 ฉบับ ได้รับคืนมา 44 ฉบับ การวิเคราะห์จะแบ่งโรงงานเป็น 4 กลุ่มคือ 1) โรงงานทั้งหมด; 2) โรงงานขนาดเล็ก; 3) โรงงานขนาดกลาง; และ 4) โรงงานขนาดใหญ่ ความคิดเห็นระหว่างกลุ่มทดสอบด้วย F-Test โดยมีนัยสำคัญ 5% ผลจากการวิเคราะห์พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมในจังหงัดนี้มีคอมพิวเตอร์ใช้มากพอสมควร แม้แต่อุตสาหกรรมขนาดเล็กก็ตาม มีไมโครคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง รองลงมาได้แก่ระบบ LAN ส่วนคอมพิวเตอร์แบบ Workstation มีการใช้งานน้อยมาก โปรแกรมที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ซึ่งบำรุงรักษาโดยหน่วยงาน EDP ของบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าคอมพิวเตอร์ช่วยให้ขั้นตอนการทำงานเป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ช่วยทำให้ Lead Time การสั่งซื้อสินค้าลดลง และทำให้ระดับสินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่ดี แต่ไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายและไม่ช่วยลดจำนวนพนักงานมากนัก ปัญหาของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานคือขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญ ราคาซอฟต์แวร์สูง รวมทั้งฮาร์ดแวร์ แต่ราคาซอฟต์แวร์จะเป็นปัญหามากกว่าฮาร์ดแวร์ นอกจากนั้นทีมบริหารของบริษัทยังขาดประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบขาดแหล่งทรัพยากรเพื่อศึกษาและขาดมาตรฐานของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมโยงในอนาคตซึ่งส่วนใหญ่คิดว่าการลงทุนด้านนี้ไม่มีความเสี่ยงมากนัก ไม่มีปัญหาด้านเงินลงทุน เพียงแต่ขาดประสบการณ์และขาดบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้ งานวิจัยนี้ได้เสนอนแนะคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ การพัฒนาซอฟต์แวร์โดยให้มีเงินลงทุนในการใช้งานเริ่มต้นไม่มากกว่า 5 แสนบาท โดยเริ่มต้นจากระบบ Inventory และระบบเงินเดือนสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ระบบการบัญชี การขาย Production Planning, Material Requirement Planning สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางด้วยเงินทุนไม่มากว่า 1 ล้านบาท ซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบได้แบบ On-Line ทั้งนี้เพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายในอนาคต th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การจัดการอุตสาหกรรม -- ไทย -- ชลบุรี th
dc.subject Industrial management -- Thailand -- Chonburi th
dc.subject การบริหารงานผลิต th
dc.subject Production management th
dc.subject คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิต th
dc.subject Computer-aided manufacturing th
dc.title การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account