งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันกลไกการสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างเป็ นนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ปี ที่ 4 จํานวน 1,113 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน (Multiple stage stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกลไกการสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 18 สําหรับการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ และใช้โปรแกรม Mplus เวอร์ชั่น 6.12 สําหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจกลไกการสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เรียงลําดับค่าผลรวมความแปรปรวนจากมากไปน้อย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบได้แก่ 1) ความไว้วางใจต่อสถาบัน (Trust) (3.875) 2) การเข้าถึงทรัพยากร (Accessible) (2.779) 3) ความเป็นมืออาชีพ (Professional) (2.754) 4) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา (Student-student interaction) (2.500) 5) การศึกษานอกห้องเรียน (Outdoor education) (2.339) และ 6) การเข้าถึงได้ง่าย (Approachable) (2.133) 2. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองกลไกการสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เรียงลําดับความสําคัญตามค่านํสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบหลัก คือ กลไกการสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ด้านวิชาการ และกลไกการสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ด้านสังคม สําหรับกลไกการสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ด้านวิชาการ นักศึกษาให้ความสําคัญต่อด้านความเป็นมืออาชีพ (คณาจารย์และคณะวิชา) มากที่สุด (0.920) รองลงมาคือด้านการเข้าถึงทรัพยากร (0.852) ด้านการศึกษานอกห้องเรียน (0.725) และด้านการเข้าถึงได้ง่าย (0.665) ส่วนกลไกไกการสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ด้านสังคม นักศึกษาให้ความสําคัญต่อด้านความไว้วางใจต่อสถาบัน (0.976) มากที่สุด รองลงมาคือด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา (0.576) 3. ผลของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองทําให้ทราบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติให้ความสําคัญต่อความเป็นมืออาชีพ (การสนับสนุนการรักษานักศึกษาไว้ด้านวิชาการ) และความไว้วางใจต่อสถาบัน (การสนับสนุนการรักษาไว้ด้านสังคม) มากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่ามากที่สุดของด้านความเป็นมืออาชีพ คือ ข้อ P8 “อาจารย์ประจําวิชาส่วนใหญ่มีลักษณะการสอนหนังสือที่สนุก ทําให้ท่านอยากมาเรียนมากขึ้น” (0.603) และ ข้อ P11 “ส่วนใหญ่ท่านได้มีโอกาสทบทวนเนื้อหา ทําแบบฝึกหัด และมีโอกาสดูคลิปที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องในแต่ละรายวิชาผ่านทาง E-Learning” (0.603) ในส่วนด้านความไว้วางใจต่อสถาบัน คือ ข้อ T33 “ผู้คนรอบข้างท่านยอมรับท่านมากขึ้นเพราะท่านมีสถานะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลังแห่งนี้” (0.778)
The objectives of this research were to conduct exploratory factor analysis (EFA) and to conduct aconfirmatory factor analysis (CFA) of student retention support mechanisms at Huachiew Chalermprakiet University. A sample of 1,113 undergraduate students at Huachiew Chalermprakiet University participated in the study by multi-stage stratified random sampling technique. The research instrument was a self-report by questionnaire. The model was validated using SPSS program version 18 for basic statistics and exploratory factor analysis results, and a confirmatory factor analysis through Mplus program version 6.12. The major findings were as follows: 1) An exploratory factor analysis (EFA) of student retention support mechanisms at Huacheiew Chalermprakiet University, descending order of the sum of variance, consists of 6 factors: trust (T) (3.875);accessible (A) (2.779); professional (P) (2.754); student-student interaction (SSI) (2.500); outdoor education (OE) (2.339); and approachable (A) (2.133). 2) A second order confirmatory factor analysis (Second-order CFA) of student retention support mechanisms at Huacheiew Chalermprakiet University, descending order of factor loadings, found that there were two factors: student retention of academic support mechanism and student retention of social support mechanism. For student retention of academic support mechanism, students concerned on professional (P)(0.920), accessible (A) (0.852), outdoor education (OE) (0.725), and approachable (A) (0.665), respectively. For student retention of social support mechanism, students gave precedence to trust (T) (0.976), and student-student interaction (SST), respectively. 3) To understand in more details after second-order CFA, item P8 “The majority of permanent lecturers teach us fun which motivates us to come to study more and more.” (0.603), and item P11 “Most of the time you have the chance to revise your study, to practice in exercises, and to watch VDO clips related to your lesions by E-learning.” (0.603) in professional (P) variable had the highest factor loadings. For item T33 “People around you accepted your social status more because you are as a student at this university.” (0.778) in trust (T) variable had the highest factor loadings.