การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ความสามารถทางวิชาการตามลักษณะงาน ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานที่่ส่งผลต่อการทำงาน และด้านคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และ 2) นำผลการสำรวจไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อการวิจัยปรับปรุงหลักสูตรของคณะศิลปศาสตร์ต่อไป ประชาการของการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2550 จำนวน 255 คน แบ่งเป้น ผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน จำนวน 119 คน ผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 82 คน ผู้ใชับัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว จำนวน 25 คน และผู้ใชับัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตในรูปแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้ผู้ใช้บัณฑิตโดยตรงทางไปรษณีย์และได้รับแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 146 ชุด (คิดเป็นร้อยละ 57.25) เมื่อแยกแบบสอบถามที่ตอบกลับโดยบัณฑิตที่ไม่ได้ทำงานในขณะที่ทำการสำรวจบัณฑิตที่ศึกษาต่อ บัณฑิตที่เป็นเจ้าของกิจการที่ไม่นายจ้าง และบัณฑิตที่ทำงานในต่างประเทศแล้วเหลือแบบสอบถามที่มีผลการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตจำนวน 108 ชุด แบ่งเป็นสาขาวิชาภาษาจีน 61 ชุด จากจำนวนที่ส่งออกไป 119 ชุด คิดเป็นร้อยละ 51.26 สาขาวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 24 ชุดจากจำนวนที่ส่งออกไป 82 ชุด คิดเป็นร้อยละ 29.97 สาขาวิชาการท่องเที่ยวจำนวน 10 ชุด จากจำนวนที่ส่งออกไป 25 ชุด คิดเป็นร้อยละ 40 และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยจำนวน 13 ชุดจากจำนวนที่ส่งออกไป 29 ชุด คิดเป็นร้อยละ 44.83 ผลการศึกษาเป็น ดังนี้ 1. บัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีนใน 3 ด้าน เป็นดังนี้ 1.1 ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการตามลักษณะงานในสาขา ค่าเฉลี่ย = 3.65 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 1.2 ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน ค่าเฉลี่ย = 3.8 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 1.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ ค่าเฉลี่ย = 4.18 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 1.4 ค่าเฉลี่ยรวมของทั้งสามด้าน = 3.88 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน มีความพึงพอใจต่อบัณฑิตในภาพรวมทุกด้านในระดับ "มาก" 2. บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษใน 3 ด้าน เป็นดังนี้ 2.1 ด้านความรู้ ความสามารถทางวิชาการตามลักษณะงานในสาขา ค่าเฉลี่ย = 3.74 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 2.2 ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน ค่าเฉลี่ย =3.8 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 2.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ ค่าเฉลี่ย = 4.18 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 2.4 ค่าเฉลี่ยรวมของทั้งสามด้าน = 3.91 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 3. บัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิตสาขาการท่องเที่ยวใน 3 ด้าน เป็นดังนี้ 3.1 ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการตามลักษณะงานในสาขา ค่าเฉลี่ย = 3.83 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 3.2 ด้านความรู้ความสามารถพื้้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน ค่าเฉลี่ย = 3.84 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 3.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ ค่าเฉลี่ย = 4.36 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 3.4 ค่าเฉลี่ยรวมของทั้งสามด้าน = 4.01 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตในภาพรวมทุกด้านในระดับ "มาก" 4. บัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยใน 3 ด้าน เป็นดังนี้ 4.1 ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการตามลักษณะงานในสาขา ค่าเฉลี่ย = 4.11 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 4.2 ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน ค่าเฉลี่ย = 4.04 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 4.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ ค่าเฉลี่ย = 4.33 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 4.4 ค่าเฉลี่ยรวมของทั้งสามด้าน = 4.16 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตในภาพรวมทุกด้านในระดับ "มาก" 5. บัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ในภาพรวม ผู้วิจัยได้นำค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านของแต่ละสาขาวิชาที่แสดงด้านบนมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยรวมของบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ โดยถ่วงน้ำหนักตามจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม ได้ผลดังนี้ 5.1 ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการตามลักษณะงาน ค่าเฉลี่ย = 3.74 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 5.2 ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน ค่าเฉลี่ย = 3.83 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 5.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ ค่าเฉลี่ย = 4.21 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") 4.4 ค่าเฉลี่ยรวมของทั้งสามด้าน = 3.93 (อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจ "มาก") ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้บัณฑิตคณะศิลปศาสตร์มีความพึงพอใจต่อบัณฑิตในภาพรวมทุกด้านในระดับ "มาก"
This study aims to 1)investiagte employer satisfation with the performance of Liberal Arts graduates in 3 dimensions: professional skills, work-related fundamental skills, and ethical behavior, and 2) gather information that could be used for revising and reforming the curricula. The population consisted of 255 employers of the year 2007 Liberal Arts graduates: 119 from the Department of Chinese, 82 from the Department of English, 25 from the Department of Tourism and 29 from the Department of Thai Language and Culture. The questionnaires which were developed by the researchers in the form of 5-point rating scales were sent to the employers by mail. One hundred and forty-six sets were answered by the respondents and were sent back. After excluding some responses which did not include an employer evaluation, the remaining one hundred and eight responses were used in the study. These 108 valid responses could be divided as follows: 61 responses from the employers of the Chinese-major graduates (accounting for 51.26% of the population), 24 responses from the employers of the Englis-major graduates (accounting for 19.27% of the population), 10 responses from the employers of the Tourism-major graduates (accounting for 40% of the population), and 13 responses from the employers of the Thai Language and Culture-major graduates (accounting for 44.83% of the population). Results of the present study were as follows: 1. The Chinese-major graduated. The average satisfaction scores rated by the employers of the Chinese-major graduates based on the 3 dimensions were as follows: 1.1 professional skills = 3.65 (high level) 1.2 work-related fundamental skills = 3.8 (high level) 1.3 ethical behavior = 4.18 (high level) 1.4 overall satisfaction = 3.88 (high level). This could be interpreted that the employers were "highly" satisfied with the overall performance of the Chinese-major graduates. 2. The English-major graduates. The average satisfaction scores rates by the employers of the English-major graduated based on the 3 dimensions were as follows: 2.1 professional skills = 3.74 (high level) 2.2 work-related fundamental skills = 3.8 (high level) 2.3 ethical behavior = 4.18 (high level) 2.4 overall satisfaction = 3.19 (high level) This could be interpreted that the employers were "highly: satisfied with the overall performance of the English-major graduates. 3. The Tourism-major graduates. The average satisfaction scores rated by the employers of the Tourism-major graduates bases on the 3 dimensions were as follows: 3.1 professional skills=3.83 (high level) 3.2 work-related fundamental skills=3.84 (high level) 3.3 ethical behavior=4.36 (high level) 3.4 overall satisfaction=4.01 (high level). This could be interpreted that the employers were "highly" satisfied with the overall performance of the Tourism-major graduates. 4. The Thai Language and Culture-major grauates. The average satisfaction scores rated by the employers of the Thai Language and Culture-major graduates bases on the 3 dimensions were as follows: 4.1 profession skills=4.11 (high level) 4.2 work-related fundamental skills = 4.04 (high level) 4.3 ethical behavior=4.33 (high level) 4.4 overall satisfaction=4.16 (high level). This could be interpreted that the employers were "highly" satisfied with the overall performance of the Thai Language and Culture-major graduates. 5. The whole graduates of the Faculty of Liberal Arts. The above average scores in each dimension were calculated for the composite mean. Results were as follows: 5.1 professional skills=3.74 (high level) 5.2 work-related fundamental skills=3.83 (high level) 5.3 ethnical behavior=4.21 (high level) 5.4 overall satisfaction=3.93 (high level). It can be assumed from these figures that the employers were "highly" satisfied with the overall performance of the Liberal Arts graduates.