การตรวจหาแอนติบอดี ต่อเชื้อเลปโตสไปรา โดยวิธีอินไดเรคอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ที่พัฒนาขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลตรวจโดยวิธีอินไดเรคอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก พบว่ามีความไว ความจำเพา ประสิทธิภาพ ค่าทำนายผลบวก และค่าทำนายผลลบเป็นร้อยละ 95.38, 99.28, 98.05 และ 97.89 ตามลำดับ เมื่อนำซีรัมที่ให้ผลบวกซึ่งหยดอยู่บนกระดาษซับมาชะซีรัมออกในวันที่ 0,4, 7, 14 และ 21 พบว่าระดับไตเตอร์จากการตรวจซีรัมที่ชะออกในวันที่ 0, 4 และ 7 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และเมื่อคำนวณค่าความสอดคล้องระหว่างผลการตรวจจากซีรัมสด กับซีรัมที่ชะจากกระดาษซับ พบว่า ในวันที่ 0,4,7,14 และ 21 มีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปได้ว่าผลการตรวจซีรัมที่นำส่งโดยกระดาษซับไม่แตกต่างจากซีรัมที่นำส่งโดยตรงในระยะเวลา 7 วัน สำหรับการตรวจเชิงกึ่งปริมาณและในระยะเวลา 21 วัน สำหรับการตรวจเชิงคุณภาพ การนำส่งซีรัมโดยวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดและเหมาะที่จะนำมาใช้นำส่งซีรัมจากถิ่นทุรกันดารมาตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
Comparison of the developed indirect immunofluorescence assay (IFA) to IFA from Regional Medical Sciences Center (Phitsanulok) for education of leptospiral antibody revealed the sensitivity, specificity, accuracy, positive and negative predictive values of 95.38, 99.28, 98.05 and 97.89% respectively. The titer of eluted sera on day 0,4 and 7 were not statistically different (p>0.05) and the titer of fresh sera by IFA correlated well with eluted sera on 0,4,7,14 and 21 days (p>0.05). Transport specimens, in form of dried serum spots could be kept atleast 7 days for semiquantitative analysis and 21 days for qualitative analysis. This handling method is appropriate for sending specimen from rural area to laboratory for confirmatory testing because it is simple, cost-effective and practical.