DSpace Repository

การศึกษาวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พุทธศักราช 2541 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล
dc.contributor.author พวงชมพู โจนส์
dc.contributor.author วรสิทธิ์ จักษ์เมธา
dc.contributor.author สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์
dc.contributor.author สุภลักษณ์ ตรรกสกุลวิทย์
dc.contributor.author Puangchompoo Jones
dc.contributor.author Supispan Watjanatapin
dc.contributor.author Penn Chayavivatkul
dc.contributor.author Worasith Jackmetha
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2023-02-12T03:18:20Z
dc.date.available 2023-02-12T03:18:20Z
dc.date.issued 2005
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1145
dc.description.abstract งานวิจัยสำหรับการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินี้ เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตให้มีคุณภาพมากขึ้น บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่่ ต้องมีการปรับปรุงส่วนใด และปรับปรุงอย่างไร การทำวิจัยนี้ประชากร 4 กลุ่ม คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตที่สอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และผู้ใช้มหาบัณฑิต เนื่องจากว่ากลุ่มประชากรมีขนาดไม่มากนัก จึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดได้จากการจัดทำแบบสอบถามซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการคณะบริหารธุรกิจ และจากการเก็บข้อมูลได้ ซึ่งมีอัตราการตอบกลับต่ำ จึงใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistic) โดยใช้อัตราร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 93 ชุด ได้รับตอบกลับมา 13 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 19.98 โดยอาจารย์ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทและส่วนมากจบการศึกษาในสาขาบริหารจัการ รองลงมาคือสาขาการตลาดและการเงิน ในด้านตำแหน่งวิชาการพบว่ามีตำแหน่งรองศาสตราจารย์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 และอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.5 ประสบการณ์สอน 7 ถึง 10 ปี ร้อยละ 46.2 สำหรับข้อมูบในเชิงความเห็น อาจารย์ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่า หลักสูตรการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันดีแล้ว และมีความเห็นว่าคณะมีแผนการบริหารหลักสูตรที่ไม่ชัดเจน ความเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมการสอน คุณลักษณะของผู้สอนในประเด็นต่างๆ อยู่ในเกณฑ์มากและมากที่สุด ยกเว้นการอบรมสั่งสอนศีลธรรม สำหรับรูปแบบการสอน ผู้ตอบแบบสอบถามมักใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย แบบบรรยายเชิงปฏิบัติการ แบบบรรยายเชิงอภิปราย แบบสัมมนา และแบบโครงการ เรียบตามลำดับจากความนิยมสูงสุดไปความนิยมต่ำสุด ผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากนักศึกษา คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 122 ชุด ได้รับตอบกลับมา 74 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60.66 จากข้อมูลพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้มีงานทำ และทำงานในหน่วยงานเอกชน อีกทั้งนักศึกษาส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ รองลงมาคือกรุงเทพมหานคร สรุปความเห็นของนักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าหลักสูตรนี้มีความเหมาะสมแล้ว ยกเว้นประเด็นการเปิดกว้างของหลักสูตรที่นักศึกษามีความเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุดและนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากระดับปริญญาตรีน้อย (คิดเป็นร้อยละ 60.7) ในด้านของรายวิชาที่มีวิธีการสอนดี 3 อันดับแรกได้แก่ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การบัญชีเพื่อการจัดการและหลักเศรษฐศาสตร์ และรายวิชาที่ควรปรับปรุงการสอน ได้แก่ ระเบียบวิจัยทางธุรกิจ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้นักศึกษาได้แสดงความเห็นว่า ควรมีการเน้นวิชาเกี่ยวกับการบริหารให้มากขึ้น และควรจัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วมและเน้นให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ และความเห็นในด้านการเรียนการสอน ส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมแล้วในทุกด้าน ยกเว้นเรื่องการจัดกิจกรรมดูงานและจำนวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม สำหรับผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลมหาบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 187 ชุด ได้รับตอบกกลับมา 35 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.72 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการตามลำดับ โดยมหาบัณฑิตมีคะแนนเฉลี่ยสะสมอยู่ในช่วง 3.26-3.50 คิดเป็นร้อยละ 42.9 ในเชิงสถานภาพการทำงาน พบว่า มหาบัณฑิตมีงานทำ คิดเป็นร้อยละ 97.1 และส่วนมากทำงานในหน่วยงานเอกชน และมักทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับต้น และผู้บริหาระดับกลาง คิดเป็นร้อยละ 31.5 เท่ากัน โดยเมื่อสำเร็จการศึกษาพบว่า ได้รับการเลื่อนตำแหน่งร้อยละ 2.9 ได้รับเงินเดือนเพิ่มและได้เลื่อนตำแหน่ง ร้อยละ 22.9 ได้รับเงินเดือนเพิ่มอย่างเดียว ร้อยละ 25.6 นอกนั้นไม่ได้การปรับเงินเดือนและตำแหน่งร้อยละ 45.7 ในเชิงความเห็นของมหาบัณฑิต ส่วนใหญ่เห็นว่า แต่ละรายวิชามีการเรียนการสอนที่เหมาะสมแล้ว รวมทั้งหลักสูตรก็มีความเหมาะสมแล้วเช่นกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามชอบการเรียนแบบร่วมมือมากกว่าการเรียนแบบอิสระ อีกทั้งยังเห็นว่าการเรียนแบบร่วมมือทำให้ประสบความสำเร็จมากกวาวิธีการเรียนแบบอิสระและแบบแข่งขัน และเห็นว่าระดับความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎี ความรู้ด้านบัญชี ด้านการจัดการ ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการนำไปประยุกต์ใช้ ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลางและมาก ในด้านคุณลักษณะพิเศษที่ผู้มีส่วนเสิรมการปฏิบัติงานนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่ามีความสำคัญในระดับมาาก ยกเว้นด้านความรับผิดชอบและจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความสำคัญในระดับมากที่สุดในด้านของผู้ตอบแบบสอบถามประเมินตนเอง เห็นว่าคุณลักษณะในประเด็นต่างๆ อยู่ในระดับมาก ยกเว้นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลผู้ใช้มหาบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 178 ชุด ได้รับตอบกลับมา 10 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5.62 ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจในประเทศและผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าแผนกและเกี่ยวข้องกับบัณฑิตโดยเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้หลักเกณฑ์ที่เลือกรับมหาบัณฑิตเข้าทำงาน 3 อันดับแรก คือ สาขาวิชาที่จบมาตรงกับลักษณะงาน ผลการสอบสัมภาษณ์ และบุคลิกภาพ ในการประเมินศักยภาพในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพของมหาบัณฑิตพบว่า มีศักยภาพการทำงานมาก โดยมีความสามารถในการประสานงาน การศึกษาความรู้เพิ่มเติม การแก้ปัญหาและการใช้คอมพิวเตอร์มีมาก (จากการเรียงลำดับ 4 ลำดับแรก) แต่ความสามารถในการใช้ภาษาอื่นๆ มีน้อย ส่วนคุณลักษณะเสริมในการปฎิบัติงานมีศักยภาพมาก โดยมีมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว ความกล้าในการแสดงความเห็น และความเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมงานมีมาก (จากการเรียงลำดับ 4 ลำดับแรก) และเมื่อเปรียบเทียบศักยภาพกับมหาบัณฑิตจากสถาบันอื่นๆ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า มีศักยภาพการทำงานที่เท่ากัน และเสนอความเห็นให้ปรับปรุงความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ และความกล้าในการแสดงออก จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากกลุ่มประชากรทั้ง 4 กลุ่มพบว่า หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตนี้มีความเหมาะสมในทุกๆ ด้าน หากแต่ยังต้องปรับปรุงในบางประเด็นเพื่อให้การผลิตมหาบัณฑิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2541 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration -- Curriculum th
dc.subject การประเมินหลักสูตร th
dc.subject Curriculum evaluation th
dc.subject การบริหารธุรกิจ -- หลักสูตร th
dc.subject Industrail manangement -- Curricula th
dc.title การศึกษาวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พุทธศักราช 2541 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative A Study on an MBA Curriculum Evaluation, Academic Year 1998, Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account