งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้คุณภาพการบริการของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอยางเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,063 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการรับรู้คุณภาพการบริการของสถาบันอุดมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม Mplus 6.12 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยหลักปรากฏว่า 1. การรับรู้คุณภาพการบริการของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ ลักษณะทางกายภาพ การตอบสนองอย่างรวดเร็ว ความเชื่อถือได้ ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจ และความไว้วางใจได้ เรียงลำดับความสำคัญตามค่าน้าหนักองค์ประกอบ พบว่า ความเชื่อถือได้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด หรือความเชื่อถือได้มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพการบริการของสถาบันอุดมศึกษามากที่สุด รองลงมา คือ ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจ การตอบสนองอย่างรวดเร็ว ความไว้วางใจได้ และลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ 2. โมเดลการรับรู้คุณภาพการบริการของสถาบันอุดมศึกษามีความสอดคล้องกบข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ ) เท่ากับ 1,000.278 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 940 มีค่าความน่าจะเป็ น (p) เท่ากบั .084 มีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .999 ดัชนี Tuker-Lewis Index (TLI) เท่ากับ .999 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกาลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .006 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกาลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .008
The objectives of this research were to (1) conduct a confirmatory factor analysis of service quality perception toward higher education; (2) to validate a service quality perception model using empirical data. A sample of 1,063 undergraduate and postgraduate students participated in the study. The research instrument was a self-report by questionnaire. The model was validated using SPSS program for basic statistics results and a confirmatory factor analysis through Mplus program version 6.12. The major findings were as follows:
1. Service quality perception toward higher education in Bangkok consisted of five factors: tangibility, responsiveness, reliability, empathy, and trust. In the priority of factor loading values, reliability had the highest values, or reliability affected to service quality perception the most following by empathy, responsiveness, trust, and tangibility, respectively. 2. The model of perception of service quality of higher education was found to accord with empirical data. Chi-square goodness of fit test value was 1,000.278 with 940 degrees of freedom, p = .084, CFI =.999, Tuker-Lewis Index (TLI) = .999, SRMR =.006 and RMSEA =.008.