DSpace Repository

ผลของการบริโภคโปรไบโอติกต่อระดับไตเตอร์

Show simple item record

dc.contributor.author วีรวรรณ ชาญศิลป์
dc.contributor.author สิณีนาฏ อุทา
dc.contributor.author กฤศธร องค์ติลานนท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเทคนิคการแพทย์ th
dc.contributor.other ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ th
dc.date.accessioned 2023-02-16T05:56:45Z
dc.date.available 2023-02-16T05:56:45Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1161
dc.description.abstract เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคโปรไบโอติกกับระดับไตเตอร์ anti-A และ anti-B ผู้วิจัยและคณะได้ทําการเปรียบเทียบ ระดับไตเตอร์ anti-A และ anti-B ของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 16 ราย ที่มีหมู่เลือด A, B และ O ก่อนและหลังการบริโภคนมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์โปรไบโอติก และทําการเปรียบเทียบระดับไตเตอร์ของ anti-A และ anti-B ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตหมู่เลือด A, B และ O ที่มีการบริโภคโปรไบโอติกและไม่ได้บริโภคโปรไบโอติกโดยแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 50 ราย ผลการทดลองพบว่า ระดับไตเตอร์ anti-A และ anti-B ของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 16 ราย ก่อนและหลังการบริโภคโปรไบโอติกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p ≥ 0.05) และ ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตผลที่ได้พบว่า ค่าเฉลี่ย anti-A และ anti-B ในผู้บริจาคโลหิตหมู่เลือด B และ O ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p ≥ 0.05) แต่ผู้บริจาคโลหิตที่มีเลือดหมู่ A มี ค่าเฉลี่ยของ Anti-B ในผู้ที่บริโภคโปรไบโอติกสูงกว่าผู่ที่ไม่ได้บริโภคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.037) ผลการศึกษาในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตชี้ให่เห็นว่า anti-A และ anti-B ในผู้บริจาคโลหิตที่บริโภคโปรไบโอติกมีระดับไตเตอร์สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้บริโภค อย่างไรก็ตาม anti-B ของผู้บริจาคหมู่ A ที่บริโภคโปรไบโอติกเท่านั้นที่มีระดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้บริโภค ทั้งนี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันของในผู้ใหญ่อาจไม่ตอบสนองต่อโปรไบโอติกที่ได้รับโดยการรับประทาน (oral immunotolerance) ความหลากหลายของสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับ และจุลินทรีย์โปรไบโอติกที่ได้รับนั้นอาจมีผลต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มในคนหมู่เลือด A, B และ O แตกต่างกัน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาในเชิงลึกต่อไป th
dc.description.abstract The aim of this study was to investigate the relation of the consumption of probiotics and anti-A and anti-B titers level. We compared the titer level of anti-A and anti-B in 16 case subjects of blood group A, B and O before and after consuming probiotic yogurt. Then we compared the titer level of anti-A and anti-B in 2 groups (50 subjects of each) of group A, B and O blood donors who consumed and did not consume probiotics. The results showed that there was no statistically significant difference (p ≥ 0.05) in the titer level of anti-A and anti-B from 16 subjects before and after consuming probiotics. There was no statistically significant difference (p ≥ 0.05) in the average titer level of anti-A and anti-B in group B and group O donors, while the average titer level of anti-B in group A donors who consumed probiotics was statisticallysignificant higher than those who did not consume probiotics (p = 0.037). The results suggested that the consumption of probiotics had no effect on the anti-A and anti-B titers level, except in group A donors. This might come from several factors such as the adult immune system might not respond to probiotics received from eating (oral immunotolerance), a variety of probiotics the donors received, and the received probiotics might have different effects on the immune system of each blood group which further studies might be needed. th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2553 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject โพรไบโอติก th
dc.subject Probiotics th
dc.subject แอนติบอดีย์ th
dc.subject Immunoglobulins th
dc.subject หมู่เลือด th
dc.subject Blood group th
dc.title ผลของการบริโภคโปรไบโอติกต่อระดับไตเตอร์ th
dc.title.alternative Effects of Consuming Probiotic on the Anti-A and Anti-B Titers Level th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account