การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองและความจำระยะสั้นในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 - 74 ปี จำนวน 40 คน กลุ่มทดลองมีการออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยการปั่นจักรยาน ความถี่ในการออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง 30 นาที ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน กลุ่มควบคุมไม่มีการออกกำลังกายใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือเครื่องบันทึกเวลาปฏิกิริยา (reaction time) และแบบทดสอบ Mini Mental State Examination (MMSE) เพื่อใช้ประเมินความสามารถในการจำที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเวลาปฏิกิริยาและคะแนนความจำระยะสั้นระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยสถิติทดสอบแบบ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเปรียบเทียบระหว่างมือขวา มือซ้าย และเท้าซ้ายที่ตอบสนองต่อเสียงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001 และเมื่อเปรียบเทียบเท้าขวาระหว่างทั้งสองกลุ่มที่ตอบสนองต่อเสียงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 อีกทั้งการเปรียบเทียบระหว่างมือขวาและมือซ้ายระหว่างทั้งสองกลุ่มที่ตอบสนองต่อแสงที่ตอบสนองต่อแสงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001 ในขณะที่ผลการศึกษาที่ทดสอบผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคต่อค่าคะแนนความจำ การเปรียบเทียบค่าคะแนนความจำระหว่าง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่าคะแนนการคำนวณ ภาษา และค่าคะแนนความจำรวมกลุ่มทดลองจะสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001 สรุปได้ว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิคในผู้สูงอายุสามารถลดเวลาปฏิกิริยาตอบสนองและเพิ่มความจำระยะสั้นได้
The objective of this study was to examine the effect of aerobic exercise on reaction time (RT) and short term memory (SM) enhancement in the elderly. The sample consisted of 40 healthy elderly people, 60 to 74 years of age. The data were analyzed using descriptive statistics and independent T-test to compare any difference between the RT and SM scores of the control and experimental groups. In audio stimuli tests, right hand, left hand and left foot reaction times in theexperimental group were significantly different (p < .001), while a right foot response test produced a difference (p < .05). In visual stimuli tests, right hand and left hand response time differences were significant (p < .001). A similar difference was also recorded in an SM enhancement study between the two groups. The results suggested that aerobic exercise is effective in decreasing reaction time and enhancing short term memory ability among older persons.