ทําการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสกอตเทปเทคนิคในเด็กช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ในสถานรับเลี้ยงเด็กและศูนย์เด็ก 15 แห่ง ในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร เด็กที่ตรวจ จํานวน 1,030 คน เป็นเพศชาย 527 คน และเพศหญิง 503คน ผลการตรวจพบเด็กติดเชื้อ 91 คน (ร้อยละ 8.83) เป็นเพศชาย 49 คน (ร้อยละ 9.30) และเพศหญิง 42 คน (ร้อยละ 8.35) อัตราการติดเชื้อดังกล่าวต่ํากว่าการสํารวจในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งพบอัตราการติดเชื้อร้อยละ 21.25 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการติดเชื้อและปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ เพศของเด็ก สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ปกครองเด็ก (อาชีพ รายได้ การศึกษา) พื้นเพดั้งเดิมของผู้ปกครองเด็ก อาการแสดงของโรคในเด็ก และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิของเด็ก พบว่าอาชีพของผู้ปกครองเด็กและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิของเด็กมีความสัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัยอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด (p>0.05) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โรคพยาธิเข็มหมุดยังคงมีการระบาดอยู่ในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีอัตราการติดเชื้อต่ํากว่าการสํารวจในอดีตก็ตาม ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้เด็กมีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิอย่างถูกต้อง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้โปรแกรมในการป้องกันโรคพยาธิแก่เด็ก ผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็ก เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของพยาธิเข็มหมุดในชุมชนต่อไป
The study was carried out to determine the Enterobius vermicularis eggs with Scotch tape technique in children ages birth to 5 years. The survey was conducted between February 2012 and January 2013 in 15 of the nursery with children's Center in Khlong Toey community, Bangkok. A total of 1,030 children were examined, 527 were male and 503 were female. The overall egg positive children were 91 (8.83 percent) that comprised 49 male (9.30 percent) and 42 female (8.35 percent). The infection rate was lower than the 2002 survey, which found 21.25 percent. The analysis of the relationshipbetween the infection rate and factors include the sex of the child, socioeconomic status of the parents (occupation, income, education), originally native parents, symptoms and practice to prevent parasitic infection of the children revealed that the occupation of the parents and practice to prevent parasitic infection of the children were associated with the infection rate significantly (p <0.05) but the remaining factors not associatiated (p> 0.05). The findings show that the Enterobius vermicularis infection still high prevalence in Khlong Toey community, Bangkok although the infection rate was lower than in the past survey. This should promote or encourage children to behave properly in the parasitic prevention behavior. The agency should provide parasitic prevention programs for children, parents and caretakers to prevent and reduce the spread of Enterobiasis in the community.