รายงานวิจัยเรื่อง ศักยภาพของผปู้ระกอบการธุรกิจเครื่องปรุงรสไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาให้ทราบ (1) ปัจจัยการบริหารจัดการของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อศกัยภาพในการแข่งขนัของผปู้ระกอบการธุรกิจเครื่องปรุงรสไทย เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (2) ปัจจัยความสามารถในการประกอบการที่ส่งผลต่อศกัยภาพในการแข่งขนัของผปู้ระกอบการธุรกิจเครื่องปรุงรสไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ (3) แนวทางในการพัฒนาศกัยภาพในการแข่งขนัของผู้ประกอบการธุรกิจปรุงรสไทย เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-depth Interview ) ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์ 2 กลุ่ม คือ ผปู้ระกอบการเครื่องปรุงรสไทย จํานวน 11 แห่งและบริษทผู้ซื้อเครื่องปรุงรสไทยรายหลกจำนวน 5แห่ง จากจำนวนทั้งสิ้น 16 ราย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ 4 ด้านนี้ ด้านกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือ ลูกค้าบุคคล ทุกระดับและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายรองคือ โรงแรม ร้านอาหาร โรงเรียนสอนทําอาหาร ด้านความสามารถหลัก เครื่องปรุงรสไทยต้องรักษารสชาติและเอกลักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิมไว้ ด้านต้นทุนที่แข่งขันได้ ธุรกิจต้องมีการลดต้นทุนวัตถุดิบ ภาษีและการขนส่ง โดยการสร้างพันธมิตรกับผู้ผลิตวัตถุดิบ และด้านข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งในประเด็นนี้ แบ่งเป็นด้านผู้ประกอบการ และด้านรัฐบาล ซึ่งในด้านผู้ประกอบการต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมสินค้าใหม่อยู่เสมอ เน้นการคัดเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ มีการจดัการการผลิตและการรักษาคุณภาพสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล ให้ได้ร้บเครื่องหมายรับรองคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบังคับ กฎหมาย และระเบียบในการทำการค้าในแต่ละประเทศรวมถึงเข้าใจวัฒนธรรมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในแต่ละประเทศ มีการสร้างตราสินค้าและสื่อสารตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและมีความเข้มแข็ง เน้นสินค้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนในด้านรัฐบาลนั้น ผู้ประกอบการต่างมีความคิดเห็นว่า รัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างราคา แหล่งทุนต้นทุนต่ำ ความรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ ส่วนปัจจัยด้านความสามารถในการประกอบการ มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ พบว่า ต้องมีโครงสร้างองค์กรที่ดี การจ้างแรงงานมักจะจ้างแรงงานคนไทยมากกว่า แรงงานต่างด้าว มีการเน้นการอบรม พัฒนาบุคลากรของตนเองอย่างงสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งในระดับบริหารและพนักงาน มีการกำหนดค่าตอบแทน สวัสดิการ และค่าครองชีพให้จูงใจพัฒนาทั้งคนและกระบวนการในการปฏิบัติงาน และมีการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงานอย่างสม่ำเสมอ 2) ด้านการตลาด ผู้ประกอบการต้องสร้างนวตักรรมสินค้าใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรักษารสชาติดั้งเดิมและเอกลักษณ์ความเป็นไทย ต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมและทันสมัย การตั้งราคาเครื่องปรุงรสไทย ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพ และควรให้ความสำคัญการเลือกใช้ช่องทางจำหน่ายที่ครอบคลุม และควรให้ความสําคัญการสื่อสารการตลาดทุกรูปแบบ โดยผ่านเครื่องมือการจัดแสดงสินค้าการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ 3) ด้านการดําเนินการผลิต ต้องมีการวางแผนการจัดหาวัตถุดิบที่แม่นยำ และมีแหล่งวตัถุดิบเป็นของตนเอง หรือมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตวัตถุดิบ หากจําเป็นต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ต้องมีการบริหารต้นทุนในด้านการขนส่งให้ดี นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาสินค้า และควรมีการควบคุมคุณภาพการผลิตทุกขั้นตอน 4) ด้านการเงินและบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ควรมีการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ มีการกำหนดแผนการดำเนินงานทั้งระยะส้ันและระยะยาว รักษาเครดิตของตนเองกับทางธนาคารที่ดี และบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยการทํา Forward สกุลเงิน
This research project was a study on ‚The Potential of Thai Condiment Entrepreneurs towards ASEAN Economic Community (AEC)‛. It focused on 1) Related factors on ‚Management of Entrepreneurs‛, regarding effects on competitive potential towards AEC, 2) Factors on ‚Entrepreneurial Capabilities‛, regarding effects on competitive potential towards AEC, and 3) Guidelines for development of entrepreneur’s competitive potential towards AEC. Research methodologies used were mainly in-depth interview and analysis on secondary datacollected from two groups of samples, including eleven condiment entrepreneurs and five buyers of Thai condiment products in Thailand. The result showed that the factors on management and administration of entrepreneurs, divided into four categories as follow. Firstly, main customers were individuals from all levels while minor customers consisted of hotels, restaurants and cooking schools. About main capability, Thai condiment products should maintain traditional and original taste. Next, outcome of competitive cost study showed that cost reduction on raw materials, taxes and transportations should be implemented by building up relationships with suppliers / producers of raw materials. Regarding the competitive advantage, it had been analyzed in two aspects, entrepreneurs and governments. Entrepreneurs should encourage innovations, focused on labor quality and production management in order to ensure product quality and acquire international certification in accordance with global standards. Moreover, they should acquire a clear understanding on trade rules and regulations as well as cultures and consumer behaviors in responding country. Besides that, entrepreneurs should create trademarks, promote their own brands and at the sametime enhancing environmental-friendly goods with Corporate Social Responsibility. For governments, entrepreneurs expected that governments should provide assistance and supports in market price structure control, low cost material resources and information on various countries. About entrepreneurial capabilities, there were four related factors. 1) Human Resources Management; appropriate organizational structure was required. Thai condiment industry mostly hired Thai workers rather than foreign workers. Training and personnel development activities were provided regularly and continuously in both management and operational levels. Competitive compensation packages and welfares were fairly provided. Inaddition, development on personnel and operation processes as well as cross-communication between management and employees were conducted periodically. 2) Marketing; innovations were encouraged. Original taste and distinctive traditional Thai characteristics were preferable. However, packaging should be modified into modern designs. Pricing of Thai condiment products should be aligned with quality. Furthermore, entrepreneurs should pay attention to suitable distribution channels and diverse marketing communication strategies through trade fairs and exhibitions, advertising, sales promotion and social media. 3) Production; accurate raw material planning was essential. And it was better to buildup either one’s raw material resources or strong relationship with producers of those inputs. In case of imports, transportation costs should be managed efficiently. Modern Technologies should be applied to production processes. Accordingly, a certain Research and Development (R&D) as well as a strict quality control unit should be setup. 4) Finance and financial risk management; funding of the business should bear low cost. Moreover, both short-term and long-term operation plan should be setup clearly. And more importantly, it was recommended to maintain good credits with commercial banks and manage exchange rate risks by using forward contracts.