พนักงานด้านโลจิสติกส์การจัดเตรียมอาหารสําหรับสายการบินจากการจัดจ้างภายนอก ศึกษาความผูกพันในการทํางานกับการออกจากงานของพนักงานด้านโลจิสติกส์การจัดเตรียมอาหารสําหรับสายการบินจากการจัดจ้างภายนอก หาแนวทางที่เหมาะสมสําหรับการปรับปรุงและส่งเสริมให้พนักงานเกิดแรงจูงใจและมีความผูกพันในองค์การที่นําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานและลดปัญหาการออกจากงาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณ สําหรับข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานจากการจัดจ้างภายนอกจํานวน 234 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร จํานวน 6 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ และการแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแรงจูงใจในงานของพนักงานจากการจัดจ้างภายนอกที่มีต่อองค์การ พบว่า ปัจจัยที่พนักงานมีแรงจูงใจมากที่สุดคือ เพื่อนร่วมงาน สวัสดิการและผู้บังคับบัญชา ตามลําดับ น้อยที่สุดคือ ความมั่นคงในการทํางาน ความก้าวหน้าในการทํางาน และสภาพแวดล้อม ปัจจัยความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คือ วัตถุประสงค์ของการจัดจ้างภายนอกเพื่อลดค่าใช้จ่าย และภาระด้านสวัสดิการ เพื่อทุ่มเทกับงานหลักให้ได้ผลผลิตมากขึ้น การบริหารต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพ ผลการวิจัยทําให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล ได้แก่ จัดให้มีหน่วยงานเฉพาะดําเนินงานด้านพนักงานจากการจัดจ้างภายนอก จัดทําเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานจริง กําหนดนโยบายชัดเจนในการพัฒนาพนักงานจากการจัดจ้างภายนอก เน้นรูปแบบการทํางานเป็นทีมงาน สร้างภาวะผู้นํา การสรรหาพนักงานจากภายนอกไม่ยึดกับบริษัทเดียว เพื่อลดปัญหาการได้รับพนักงานไม่ตรงกับความต้องการ พนักงานมีศักยภาพต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนด และปัญหาความล่าช้าในการจัดส่งพนักงาน
This objectives of this research were to study the motivation and commitment to the turnover of the employees preparing food to the airlines from outsourcing, analyze the relational factors of motivation and commitment with turnover and to find out the suitable guideline for the employees efficiency improvement and commitment to their organization for turnover reduction. Research methodology were qualitative and quantitative. The data was collected by using questionnaires and interviews 234 samples and 6 managers. Quantitative analyzes were conduct using descriptivestatistics, frequency, percentage, mean and standard deviation. The results of the research finding were showed that the highest level of employees’ motivation factors from outsourcing were accordingly colleague, welfare, employer and the lowest factors were the job’s stability, the career advancement and the workplace environment. For the commitment factors were at moderate level. The results of interview indicated that the objectives of outsourcing were expenditure andwelfare deduction, to focus in main activity to increase productivity, efficiency in costmanagement. Besides the research results revealed that the suitable guideline for human resource planning such as to organize the special unit for handle the employees from outsourcing, to have career path, regulation improvement adjust to the environment, progression in working operation policy, focus in team building, leadership, not restrict to one outsourcing company in order to get employees for serving the organization’s need, lower performance of the employees and the delayproblem of employee deliver.