การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยผสมระหว่างวิจัยเชิงปริมาณกับคุณภาพแต่เน้นเชิงปริมาณ ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีต่อบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อศึกษาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยในแต่ละด้านที่มีผลต่อบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยในแต่ละด้านที่มีผลต่อบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่วิเคราะห์จากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้บริหารและพนักงานส่วนตำบล ที่วิเคราะห์จากกลุ่มตัวอย่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และพนักงานส่วนตำบล 15 อบต. จำนวน 447 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคืนมา จำนวน 409 คน คิดเป็นร้อยละ 91.5 ผลการวิจัย พบว่า บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิต การรักษาความสงบเรียบร้อย และด้านภาษา วัฒนธรรม และจารีตประเพณี มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในด้านของความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและสาธรณสุข แต่ผลการศึกษาเชิงคุณภาพมีความขัดแย้งกันกับเชิงปริมาณ นั่นก็คือองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมในการรองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างจริงจัง ซึ่งเห็นเป็นเรื่องนโยบายแต่ยังไม่ได้มีการดำเนินการ ยังเห็นความสำคัญของการสร้างวัตถุ และมองว่าเป็นองค์กรพัฒนาท้องถิ่นซึ่งยังไม่เห็นผลกระทบจากเปิดประเทศสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบกับเป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึงจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่ากับงานประจำที่ปฏิบัติอยู่น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยภายในแต่ละด้านที่มีผลต่อบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า จากการกำหนดตัวแปร 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตน ทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติ โดยปัจจัยภายในที่มีผลต่อบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ ทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตน และความรู้เกี่ยวกับอาเซียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการศึกษาเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกันกับเชิงปริมาณน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยภายนอกแต่ละด้านที่มีผลต่อบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า กำหนดตัวแปร 5 ด้าน ได้แก่ การได้รับข่าวสาร แผนกลยุทธ์ การประสานงานภายใน อบต. การมีส่วนร่วมของประชาชน และการรับรู้ของประชาชน โดยปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ การรับรู้ของประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการศึกษาเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกันกับเชิงปริมาณ แนวทางการพัฒนา รัฐบาลควรกำหนดนโยบาย มาตรการในเชิงการพัฒนาที่ชัดเจน และติดตามการดำเนินงานอย่างจริงจัง โดยกำหนดดัชนี ยุทธศาสตร์และทิศทางในการส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก คือ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมและวัฒนธรรมไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้กระทรวงมหาดไทย ได้นำนโยบายของรัฐบาลด้านการส่งเสริมบทบาท และการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน กำหนดเป็นนโยบายหนึ่งของกระทรวงมหาดไทยที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ได้ประโยชน์สูงสุดในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยร่วมกับประชาชนอาเซียน และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ในการนี้ กรมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และองค์การบริหารส่วนตำบล ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องประชาคมอาเซียน และภาษาอังกฤษ แก่เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล เด็กและเยาวชน ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล โดยจัดเป็นโครงการต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผล
The research on A Study of Samutprakan Province’s Sub-District Administration Organizations’ Roles and Readiness for Asean Community is a mixture of both quantitative and qualitative studies, focusing on the former. Its objectives are to examine the factors affecting the roles and the preparation, to figure out relationships between the roles and the preparation, and to study and compare weights of each factor. The data of the research is based on the samples comprising executives, legislative officers, and officials of 15 SAOs in Samut Prakan; 447 copies of the questionnaire had been distributed and 409 copies (91.5%) were answered. The result of the research suggests that the SAOs’ roles concerning infrastructure development, economy, natural resources & environment, society, quality-of-life development, peace & order maintenance, language, tradition, and culture reflect a positive relationship to the preparation for AEC in aspects of security, economy, society, culture, education, and public health, at 0.01 level of statistical significance. Nevertheless, the qualitative study contradicts the quantitative one. According to the qualitative study, the SAOs have not seriously conducted the preparation for AEC yet; the policies have been issued without significant implementation. Some respondents say the organizations still focus on physical development and they have yet to perceive impact of AEC; therefore, they do not regard the preparation for AEC as the important issue compared to their current tasks. Regarding five internal factors including ASEAN knowledge, learning & self-development skill, civilian & social-responsibility skill, basic skill, and attitude, the first two factors are related to the SAOs’ roles and preparation for AEC at 0.05 level of statistical significance. The qualitative study is consistent with the quantitative one. As for five external factors comprising information awareness, strategic plan, SAOs’ internal coordination, public participation, and people’s awareness, the last two factors reflect a relationship to the SAOs’ roles and preparation at 0.05 level of statistical significance. And the qualitative study is also consistent with the quantitative one. For further improvement, the government ought to have a clear measure of development, and seriously monitor its implementation. Indexes, strategies, and directions to support the roles should be established. The opportunities induced by three pillars of ASEAN Community consisted of Politics & Security, Economy, and Society & Culture should be contemplated for the National Economic and Social Development Plan. The Interior Ministry should also produce clear policies to enhance Thais’ and ASEAN people’s quality of life as well as potentiality. In this place, Department of Local Administration and SAOs should provide some training programs related to AEC and English knowledge for the officers, the youth, and people in villages or sub-districts. In addition, the programs should be progressively undertaken and evaluated.