งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตร CIPP IEST ของศาสตราจารย์ ดร. แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม ที่รวบรวมข้อมูลจากสรุปผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2556 ถึง 2560 ข้อมูลสะท้อนกลับจากการนิเทศสหกิจศึกษา/ฝึกงาน กิจกรรมการสนทนากลุ่มของตัวแทนศิษย์เก่า/ตัวแทนจากสถานประกอบการจำนวน 18 คน และแบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาจำนวน 39 คน อาจารย์จำนวน 7 คน บัณฑิตจำนวน 13 คน ผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิตจำนวน 4 คน และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรจำนวน 3 คน ที่มีต่อองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรทั้ง 8 ด้าน โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านบริบทของหลักสูตร ประเมินเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชาต่างๆ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.01 ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะการปรับปรุงวัตถุประสงค์ของหลักสูตรให้มีเอกลักษณ์เฉพาะของบัณฑิตวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดลำดับรายวิชาในแต่ละชั้นปีให้เหมาะสม ปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต ด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ประเมินที่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิ/คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา คุณวุฒิ/คุณสมบัติอาจารย์และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.12 โดยให้ปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้มีอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย มีวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียนเพื่อให้นักศึกษาใช้ทบทวนบทเรียนก่อนสอบและมีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษา ด้านกระบวนการหลักสูตร ประเมินการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.16 โดยให้เน้นรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งกิจกรรมภายในและนอกห้องเรียน เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป ด้านผลผลิตของหลักสูตร ได้ประเมินคุณลักษณะบัณฑิตตามวัตถุประสงค์และมาตรฐานการเรียนรู้ ทั้ง 5 ด้านของหลักสูตร ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 4.20 โดยให้เน้นคุณธรรมจริยธรรม ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม ทักษะกระบวนการคิดการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ และการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในสายวิชาชีพด้วยตนเอง ด้านผลกระทบ ประเมินการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน การยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน และคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งพบว่าผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.58 โดยบัณฑิตสามารถนำความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ด้านประสิทธิผล ประเมินความเหมาะสมของความมั่นใจในความรู้ที่ได้รับ และการศึกษาค้นคว้า ความรู้ทางด้านวิชาชีพเพิ่มเติม ซึ่งพบว่าผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.25 โดยความมั่นใจของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการทำงาน ด้านความยั่งยืน ประเมินความเหมาะสมของการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน และการประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปสู่งานอื่น ซึ่งพบว่าผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.63 โดยบัณฑิตควรมีความพร้อมในการทำงานในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเปลี่ยนแปลงการทำงานอย่างรวดเร็ว ด้านการถ่ายโยงความรู้ เป็นการประเมินความเหมาะสมของการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ การปรับความรู้ให้เหมาะสมกับองค์กรภายนอก และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ พบว่าผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.75 ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้มีการจัดโครงการอบรม/กิจกรรมให้ความรู้กับศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง จากผลประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558 ในภาพรวมของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป
The objective of this research is to evaluate the Computer Science Curriculum (Revision, 2015) of Science and Technology Faculty, Huachiew Chalermprakiet University. Daniel L. Stufflebeam's CIPP[subscript IEST] mocel is applied to assess the curriculum by collecting data from Summary of the evaluation of graduate users who graduated in the academic year 2013 to 2017, feedback data form cooperative/internship supervision, group discussion activity of 19 alumni representatives/representatives from companies, and surveys from 39 students, 7 teachers, 13 graduates, 4 employers, and 3 curriculum experts on 8 elements assoicated with curriculum. The research results can be summarized as follows: First, the satisfaction of the context of the curriculum including issues related to the objectives of the curriculum, course structures and course is high level with an average score of 4.01. Moreover, suggestions were given by the respondents which impriving the curriculum objectives to be unique to Computer Science graduates of Huachiew Chalermprakiet University, organize courses in each year appropriately, updated and developed in accordance with the trends of digital technology in the future. Second, the satisfaction of the input such as the qualifications or requirements of both students and teachers plus suppotive factors of learning and teaching process is high with an average score of 4.12. Suggestions included improving computer laboratory with modern hardware and software, plus video related to the study material for students to review the lesson before the exam, and have learning space for both teachers and students. Third, the satisfaction of the process related to learning and teaching management plus measurement and evaluation process is high with an average score of 4.16. Suggestions included focusing on a variety of teaching styles both inside and outside the classroom with response to student behavior that has changed. Fourth, the satisfaction of the product based on the self-assessment of graduates that follow the curriculum and learning outcomes on five domains, namely (1) morality and ethics, (2) knowledge, (3) cognitive skill, (4) human relations skill and responsibility, and (5) numerial analysis, communication and information technology skills is at high level with an average score of 4,20. Suggestion are emphasizing on morality and ethics, creative thinking, team working, self-thinking and problems solving skills, communication skill, presentations and self- learning new technology in the professional field. Fifth, the satisfaction of the impact bases on the use of knowledge in working operation, the acceptance from supervisors and colleague, and the quality of the work assigned is at the highest level with an average of 4.58. Suggestion is graduates should be able to apply their knowledge in practical work. Sixth, the satisfaction of the effectiveness assesses about the appropriateness of the confidence in the knowledge gained, and the study of additional professional knowledge is at a high with an average score of 4.25. The confidence of graduates who graduate from the program will increase according to the duration of work. Seventh, the satisfaction of the sustainability assesses about the appropriateness of applying knowledge in job development and applying the knowledge gained from education to other jobs is at a high level with an average score of 4.63. Graduates should be ready to work in an era where digital technology is used to change work quickly. Eight, the satisfaction of the transportability assesses about the appropriateness of participation in the exchange of new knowledge, adjusting knowledge to suit external organizations, and the ability to transfer knowledge is at a highest level with an average score of 4.75. In addition, there are additional suggestions to provide ongoing training/activities for alumni and current students. In summary, the overall assessment of Computer Science curriculum (Revision, 2015) is suitable because the satisfaction is in between high and highest level. Finally, the research results can be used as a guideline to improve and develop the curriculum further.