การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประเมินเกี่ยวกับบริบทต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์หลักสูตร ในด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ประเมินความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ได้แก่ โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร คุณลักษณะอาจารย์ คุณสมบัติของนักศึกษา ความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกการจัดการเรียนการสอน สถานที่เรียน และปัญหาและอุปสรรคที่เกิดในการเรียนการสอน ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย 1) อาจารย์ที่สอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย และได้ปฏิบัติงานการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 จำนวน 7 คน 2) บัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตที่ตอบแบบสอบถามหลักสูตรภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย จำนวน 3 คน 3) ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 3 คน ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังต่อไปนี้ 1) บริบทของหลักสูตรเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ และภาษาไทยไปใช้การประกอบอาชีพ และประยุกต์ใช้ในการดำรงชีพในสังคมปัจจุบัน โดยจากการส่งแบบสอบถามไปยังอาจารย์ผู้สอนทั้ง 7 ท่านรวมถึงบัณฑิต 3 ท่าน ได้แสดงความเห็นด้วยมาก 2) ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร และรายวิชาสรุปได้ว่าในภาพรวมอาจารย์และบัณฑิต เห็นด้วยกับโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาในระดับมาก 3) การบริหารจัดการหลักสูตร อาจารย์และบัณฑิต มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียน 4) ผลการใช้หลักสูตรผู้ใชับัณฑิตมีความคิดเห็นในระดับ "มาก" สรุปผลความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมาก นอกจากนี้ผู้ใช้บัณฑิตยังได้แสดงความคิดเห็นว่าบัณฑิตมีความอดทนและมีความมีน้ำใจดีต่อเพื่อนร่วมงานแต่ยังต้องพัฒนาพื้นฐานด้านภาษาอีก แต่ในภาพรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
The research study evaluated the Bachelor of Arts in English curriculum in 2007 of Huachiew Chalermprakiet University in four areas: (1) contexts including the curriculum objectives structures and contents; (2) curriculum input factors; (3) administration process and curriculum pedagogical activities and measurement and evaluation of learning ; and (4) curriculum output including the quality of graduates. The analysis was comprised with (1) lecturers who are teaching English-Thai students for 7 teachers (2) Graduated student in English-Thai major for 3 students and (3) The employers for 3 people. The finding of the research study are as follows: Contexts: The curriculum objectives, structures and content are already at good level. Curriculum input factors: The lecturers, students and factors supporting pedagical activities and already at good level. Administration process and curriculum pedagogical management: The pedagogical activities measurement and evaluation of learning output are already good. Curriculum output: The quality of students who already graduated are in the level of very good.