การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรเพื่อค้นหาข้อบกพร่องและปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพือประเมินหลักสูตรเทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้รูปแบบการปรเมิน CIPP Model ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม เพื่อประเมินด้านบริบท ปัจจัยป้อนเข้า กระบวนการ และผลผลิตของหลักสูตรร่วมกับการประเมินความสอดคล้องตามตัวบ่งชี้ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เป็นการประเมินแบบผสมผสานจากทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพของแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม ประกอบด้วย นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 1 คน อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน มหาบัณฑิต จำนวน 1 คน ผู้ใช้/ผู้บังคับบัญชามหาบัณฑิตจำนวน 1 คน และผู้เกี่ยวข้อง/ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร จำนวน 13 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การประเมินด้านบริบทของหลักสูตรโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับปรัชญา ความสำคัญ และโครงสร้างของหลักสูตร มีความชัดเจนและสอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของหลักสูตร และกำหนดโครงสร้างหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม การประเมินด้านปัจจัยป้อนเข้า พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด นักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนมีคุณลักษณะและคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับผลรายงานการดำเนินการตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน นักศึกษาและมหาบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อระบบการควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.60, S.D.=0.89) ในขณะที่ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก การประเมินด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรพบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และการประเมินด้านผลผลิตพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการมหาบัณฑิตที่มีผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ทั้ง 5 ด้าน ในระดับมากถึงมากที่สุด ถึงแม้ว่ากลุ่มอาจารย์ผู้สอนจะมีความคิดเห็นต่อผลการเรียนรู้ของมหาบัณฑิตอยู่ในระดับปานกลางในด้านความรู้ (mean=3.40.S.D.=0.50) ทักษะทางปัญญา (mean=3.25, S.D.=0.45) และทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี (mean=3.38. S.D.=0.50) แต่ผลประเมินมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากผู้ใช้มหาบัณฑิต พบว่า มหาบัณฑิตมีผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เช่นเดียวกับการประเมินตนเองของมหาบัณฑิต ผู้ใช้มหาบัณฑิตเห็นว่าจุดเด่นของหลักสูตร คือ สามารถผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ รู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ อีกทั้งยังมีจิตอาสา เสียสละเพื่อส่วนรวม และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่ควรพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพและชุมชน พัฒนาตนเองและองค์กรใในด้านวิชาการและวิชาชีพให้ต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาความสามารถในการอ่านและวิเคราะห์เอกสารภาษาอังกฤษ ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง/ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้หลักสูตรกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ที่เน้นทั้งทางด้านวิชาการและการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ กำหนดเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้มหาบัณฑิตสามารถนำความรู้ไปต่่อยอดเพื่อพัฒนาองค์กรและให้ความรู้กับผู้ใช้บริการ คิดและวิเคราะห์ได้อย่างมีระบบ ส่งเสริมการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ และจัดการเรียนการสอนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ หรือจัดเป็นหลักสูตรระยะสั้น งานวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาและมหาบัณฑิตเฉพาะกลุ่มที่ใช้หลักสูตร แผน ก แบบ ก 1 เท่านี้น เนื่องจากยังไม่มีผู้เรียนในแผน ก แบบ ก 2 และแผน ข โดยภาพรวมสรุปได้ว่า ผลการประเมินหลักสูตรเทคนิคิการแพทยมหาบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557 มีความเหมาะสมและมีคุณภาพอยู่ในระดับดี ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรต่อไป
Curriculum evaluation is a process of assessing the appropriateness of vairous components of the curriculum, to find the defects and problems that arise in order to improve and develop the curriculum. The purpose of this research was to evaluate the Master of Medical Technology Curriculum: New Edition 2014 at Huachiew Chalermprakiet University. The CIPP model evaluation's theory by Daniel L. Stufflebeam was used to assessment in 4 aspects; context, input, process and productiviy of the curriculum including with the assessment of conformity according to the indicators of the Internal Quality Assurance (IQA) framework and learning outcomes according to the Thailand Quality Framework (TQF) for higher education. This research was a mixed evaluation from both quantitative and qualitatuve data of the questionnaire and interviewing from 5 related sample groups, consisting of 1 student, 5 instructors, 1 graduate, 1 supervisor/graduate user and 13 related person/experts in the curriculum. The data was analyzed by using descriptive statistics and content analysis. The results found that the contextual evaluation of the overall curriculum is appropriate at a good level. The objectives of the curriculum are determined in accordance with the philosophy, importance and structure of the curriculum. They are clear and consistent with the basic concepts of the curriculum. The curriculum structure has been appropriately determined. The assessmenr of inout factors found that it is appropriate to be at the highest level to the highest. Student and instructors have the appropriate characteristics and qualifications at a high levle in accordance with the report of the implementation of the internal quality assurance (IQA) framework. The student and the graduate were satisfied with the advisory supervision system of the advisors at the highest level (mean = 4.60.SD = 0.89) while the factors contributing to the teaching and learning of the curriculum were appropriate in the medium-high level. The evaluation of the course management process revealed that the learning management process and meausurement and evaluation are appropriate at a high level. The product evaluation showed that the respondents needed a graduate with learning outcomes according to 5 aspects of TQF at the highest levle - a lot. Although the group of instructors has opinions on the learning outcomes of the graduate at a moderate level in knowledge (mean=3,40, SD. = 0.50), intellectual skills (mean = 3.25, SD. = 0.45) and skills in numerical analysis, communication and using technologu (mean = 3.38, SD. = 0.50), but the graduate's assessment results from graduate user found that graduate has the highest level of leaning in each area as much as the self-assessment of the graduate, Graduate user agree that the strength of the curriculum is to be able to produce a graduate with the ability to use technology and information, always seeking new knowlegde and also has a volunteer sacrifice for the public and has good human relations. Howeverm the graduate should develop the ability to work as a team with the multidisplinary and community, continuous self-development and organization in academic and professional including developing the ability to read and analyzed English documents. The results of the interviews, the opinions of the majority of related persons/curriculum experts still want the curriculum to define learning content that focuses on both academic and laboratory management, set the content to be up-to-date in order for the graduate can apply knowledge to further develop the organization and educate users including think and analyze systematically, promote collaboration with multidisciplinary and teaching only Saturday-Sunday or organized as a short course. This research uses the sample group of students and the graduate who uses the course type A2 because there are no students in type A1 and B. In general, it can be concluded that the results of the evaluation of the new curriculum for the Master of Medical Technology Program 2014 is appropriate and the quality is good. The results of this research can be used as a guideline for further curriculum improvement.