การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พุทธศักราช 2557 มีขอบเชตการประเมินครอบคลุมใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคล 5 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาปัจจุบัน ผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 นักศึกษาปัจจุบันชั้นปีที่ 3 และ 4 (รุ่นปีการศึกษา 2558-2559) รวมจำนวน 142 คน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร รวมจำนวน 23 คน กลุ่มที่ 3 บัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 49 คน กลุ่มที่ 4 ผู้ใช้บัณฑิตซึ่งได้แก่ ผู้ประกอบการ นายจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จำนวน 30 คน และกลุ่มที่ 5 ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านหลักสูตร จำนวน 3 คน ซึ่งผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืนเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 237 ชุด คิดเป็นร้อยละ 88.30 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินที่มีทั้งคำถามปลายเปิดและปลายปิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานและสถานภาพของผู้ตอบ ส่วนที่ 2 ความสามารถในการทำงานของบัณฑิต และส่วนที่ 3 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ผลการวิจัยในด้านบริบท ผู้ประเมินทั้ง 5 กลุ่ม เห็นพ้องว่าหลักสูตรได้ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอนและบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ข้อ ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ ผู้ประเมิน ทุกกลุ่มเห็นตรงกันว่า หลักสูตรได้บรรลุตามปรัชญาที่ตั้งไว้ในระดับมากที่สุด คือ ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เป็นอย่างดี มีความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เข้ากับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โครงสร้างหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก จำนวนหน่วยกิต (141 หน่วยกิต) และรายวิชาเอกบังคับที่เปิดสอนในหลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีจำนวนรายวิชาที่มุ่งเน้นทักษะการฟัง-การพูด การอ่าน การเขียน ไวยากรณ์ การแปล วรรณคดี ธุรกิจ สหกิจศึกษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่เหมาะสมในระดับมาก-มากที่สุดมีค่าร้อยละ 70.3-87.9 อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะให้ลดจำนวนวิชาในกลุ่มทักษะการฟัง-พูด (5 รายวิชา) และรายวิชาในกลุ่มวรรณคดี คิดเป็นร้อยละ 25.5 และเพิ่มรายวิชาทักษะการอ่าน ในส่วนของรายวิชาเอกเลือก พบว่า รายวิชาเลือกที่เปิดสอนนั้นเป็นประโยชน์และสอดคล้องกับความต้องการนักศึกษาอย่างมาก ผลการประเมินด้านผู้สอน พบว่า นักศึกษาพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อความสามารถในการสอนคุณวุฒิและประสบการณ์ของอาจารย์ผู้สอน ตำราเรียนและเอกสารประกอบการสอนที่ใช้มีความเหมาะสมมาก และผู้ประเมินทุกกลุ่มมีความพึงพอใจในระดับมากต่อห้องสมุด ตำรา และวารสาร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรต้องปรับปรุง คือ ความพร้อมของห้องเรียนและสื่ออุปกรณ์ ด้านกระบวนการ ในภาพรวม หลักสูตรมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้นักศึกษา และระบบดูและช่วยเหลือนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพดีมาก อย่างไรก็ตาม พบว่าในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน มี 2 ประเด็นที่ควรพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น คือ 1. ความสะดวกในการลงทะเบียนเรียน และ 2. ความเหมาะสมของจำนวนนักศึกษาในแต่ละรายวิชา ส่วนการจัดการรายวิชาฝึกงาน ประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา นักศึกษาเห็นว่า มีความเหมาะสมมาก ด้านผลผลิต (Product) ซึ่งก็คือ คุณภาพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ผลจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่ส่งกลับมา จำนวน 69 ชุด คิดเป็นร้อยละ 63.89 ที่มีข้อคำถามเกี่ยวกับคุณสมบัติของบัณฑิต 6 ด้านได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านทักษะการปฏิบัติงาน และลักษณะบัณฑิตที่นายจ้างพึงประสงค์ บ่งชี้ว่า ในภาพรวมผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจต่อคุณภาพของบัณฑิตศิลปศาสตร์ สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 6 ด้าน คือ 4.17 ผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจต่อบัณฑิตในด้านคุณธรรม จริยธรรม มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.46 และพึงพอใจต่อบัณฑิตในระดับมากในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ค่าเฉลี่ย 4.29) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (ค่าเฉลี่ย 4.22) ด้านความรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.05) ด้านทักษะการปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย 4.00) และด้านทักษะทางปัญญา (ค่าเฉลี่ย 3.98) จุดเด่นของบัณฑิตศิลปศาสตร์ สาขาวิชเอกภาษาอังกฤษ คือ บัณฑิตมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งบัณฑิตมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ และมีความตรงต่อเวลา อย่างไรก็ดี ยังมีจุดด้อย คือ บัณฑิตใหม่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงานขาดความรอบคอบ และความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ส่วนคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า คุณลักษณะด้านวิชาการมีความสำคัญในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15) โดยประสงค์ให้บัณฑิตมีความสามารถในการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษมากที่สุด ส่วนคุณลักษณะด้านความสามารถพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นมีความสำคัญในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความขยันหมั่นเพียร กระตือรือร้น (ค่าเฉลี่ย 4.75) ความตรงต่อเวลา (ค่าเฉลี่ย 4.74) ความรับผิดชอบในหน้าที่ (ค่าเฉลี่ย 4.72) สำหรับคุณลักษณะที่ผู้ใช้บัณฑิตให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ บัณฑิตควรมีความรู้เรื่องการทำวิจัย ที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.74) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเนื้อหาสาระและโครงสร้างหลักสูตร หลักสูตรควรมีการปรับปรุงให้มีจุดเด่น ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ อีกทั้งควรมีการเพิ่มและลดเนื้อหารายวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและผู้ใช้บัณฑิต การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม และการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
The current study was a quantitative survey research. The purpose of this study was to evaluate the Bachelor of Arts Program in English (revised curriculum, academic year 2014) of Huachiew Chalermprakiet University. The total sample size was 286. The sample consisted of 77 fourth-year current students, 5 third-year current students, 23 lecturers, 49 graduates, 69 employers of the graduates and 3 educational experts. The data were gathered by using questionnaires designed by the researchers based on the CIPP evaluation model. Descriptive statistics were used for data analysis. The findings of the research were as follows: The Context evaluation indicated that all objectives of the curriculum were evaluated at high level for appropriateness. The highest average scores went to the fourth objective "to produce graduates who can effectively apply their English language knowledge and skills to their jobs" and the first objective "to produce graduates who can use the four English language skills including listening, speaking, reading, and writing appropriately in different situations". The Input evaluation showed that the structure of curriculum, the number of the total credits and the number of credits in each subject were highly appropriate. The sample indicated that most courses offered in the program were very useful. However, it was found that most literature courses were rated relatively low compared to other courses. Also, the sample suggested the reduction of credits of literature courses in the core course category and the increase of credits of listening and speaking courses. It was also suggested that the program should create more English reading courses so that the students have more opportunities to use the language both in and outside class. The findings also presented that textbooks, teachers, and library were evaluated at high level. However, it was found that classrooms and language laboratories were rated at moderate level as the computers and other lab/classroom facilities needed proper maintenance. With regard to the evaluated of process, all topics including instructional process, testing and evaluation, extra-curriculum activities, and student support system were evaluated at high level. Students suggested more courses offere in each semester and the improvement of registration system. Both lecturers and students suggested the facilities in the classroom should be provided. For the evaluation of product, the employers pointed out that the overall quality of the graduated was highly satisfied especially in the topics of honesty and discipline. The employers advised that the following qualities were important for futire graduates: creativity, knowledge-seeking and self-development skills, leadersip, planning skills, knowledge about cross-cultural communication, and analytical thinking and problem-solving skills.