DSpace Repository

ปัจจัยในการคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วนรถยนต์สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิรัตน์ ทองรอด
dc.contributor.advisor Wirat Tongrod
dc.contributor.author นิศานาถ ทวิวัฒน์
dc.contributor.author Nisanat Tawiwat
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
dc.date.accessioned 2022-04-23T03:44:02Z
dc.date.available 2022-04-23T03:44:02Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/122
dc.description วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555. th
dc.description.abstract อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อเนื่องมากมาย และเป็นอุตสาหกรรมที่ขึ้นอยู่กับผู้ส่งมอบชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ที่มีมูลค่าของต้นทุนสูงถึงร้อยละ 60.0 ของอุตสาหกรรม ในงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาถึงปัจจัยในการคัดเลือกผู้ส่งมอบสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดระดับความสำคัญของปัจจัยที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ส่งมอบสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวน 69 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 500 คน คิดเป็น (ร้อยละ 47.7) โดยมีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 200 ล้านบาท (ร้อยละ 41.5) เป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยคนไทยมากกว่าคนต่างชาติ (ร้อยละ 33.8) มียอดขายโดยประมาณที่ 2,001-4,000 ล้านบาท (ร้อยละ 26.2) ระยะเวลาดำเนินงาน 15 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 83.1) มีสัดส่วนการใช้ผู้ส่งมอบ ร้อยละ 26-50 คิดเป็น ร้อยละ 50.8 และกลุ่มของชิ้นส่วนที่ทำการผลิตส่วนใหญ่ 3 อันดับแรก คือ Drive, Transmission & Steering Parts (ร้อยละ 38.5) Suspension & Brake Parts (ร้อยละ 35.4) Body Parts และ Engine Parts (ร้อยละ 27.7) โดยผลิตชิ้นส่วนส่งให้กับลูกค้าอิซูซุมากที่สุด (ร้อยละ 87.7) รองลงมาส่งให้กับลูกค้าโตโยต้า (ร้อยละ 73.8) ปัจจัยหลักในการคัดเลือกผู้ส่งมอบ ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งมอบ ด้านการตอบสนอง และด้านคุณภาพ มีระดับความสำคัญมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.85, 4.85 และ 4.57 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านต้นทุน ด้านการบริหารจัดการ และด้านเทคนิค มีระดับความสำคัญมาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.44, 4.32 และ 4.25 ตามลำดับ ในด้านปัจจัยย่อยในการคัดเลือกผู้ส่งมอบ สามารถแบ่งระดับความสำคัญเป็น 2 กลุ่ม คือ ระดับความสำคัญมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่างคะแนน 4.51-5.00 จำนวน 5 อันดับแรก ได้แก่ ความตรงต่อเวลา (Delivery on Time) มีค่าเฉลี่ย 4.95 ความถูกต้องของจำนวน (Right Quantity) และการตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น (Response to the Problem) มีค่าเฉลี่ย 4.88 ระยะเวลาตั้งแต่รับคำสั่งซื้อจนได้รับสินค้า (Lead Time) และราคาของสินค้าที่น่าสนใจ (Competitive Price) มีค่าเฉลี่ย 4.86 ส่วนปัจจัยย่อยกลุ่มที่ 2 มีระดับความสำคัญมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่างคะแนน 3.51-4.50 จำนวน 5 อันดับแรก ได้แก่ ความสามารถในการดำเนินงาน (Competency) มีค่าเฉลี่ย 4.37 เงื่อนไขการจ่ายเงิน (Payment Terms) มีค่าเฉลี่ย 4.34 ระบบบริหารคุณภาพ (ISO) มีค่าเฉลี่ย 4.29 การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ (Product Development) มีค่าเฉลี่ย 4.28 และการสนับสนุนทางด้านเทคนิค (Technical Support) มีค่าเฉลี่ย 4.26 โดยสรุปผลจากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยการคัดเลือกผู้ส่งมอบ พบว่า จำนวนพนักงานที่แตกต่างกัน สัดส่วนการใช้ผู้ส่งมอบที่แตกต่างกัน ประเภทของการผลิตชิ้นส่วนที่ต่างกัน เช่น Drive, Transmission & Steering, Body Part, Engibe Parts, Accessories Parts, Exterior Parts และ Electronic Parts ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 th
dc.description.abstract The automotive parts industry is vital to the economotive development of the country. This i ndustry has been linked to various related industries. Other factors is the cost of parts, as a result of the supplier, used in assembly which accounts to 60.0% of the whole industry. The objective of this study was to prioritise important factors for supplier selection for the automotive parts industry. Questionnaires, containing six criteria (i.e. quality, delivery, cost, responsiveness, management and technical). were used to collect data from 69 samples. Data were analyzed as frequency, percentage, mean, standard deviation, and chi-square. The results obtained that most of samples had the number of employees less than 500 persons, 47.7%, registered capital less than 200 million baht (41.5%), Thai majority shareholders (33.8%), estimated annual sales for 2,001-4,000 baht (26.2%), more than 15 years of establishment (83.1%), and the proportion of supplier 26-50% (50.8%). The top three supplied parts were drive, transmission & steering parts (38.5%), suspension & brake parts (35.4%), body parts and engine parts (27.7%). The main customers of these samples were Isuzu (87.7%) & Toyota (73.8%). The top three major factors in selecting supplier were delivery (mean = 4.85), responsiveness (4.85) and quality (4.57). The last three major factors werr cost (4.44), management (4.32), and techinical (4.25). th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject รถยนต์ -- ชิ้นส่วน th
dc.subject อุตสาหกรรมรถยนต์ th
dc.subject ผู้ประกอบการ th
dc.subject อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ -- ไทย
dc.subject Automobile industry and trade
dc.subject Automobiles -- Parts
dc.subject Automobile supplies industry -- Thailand
dc.subject Enterpreneurship
dc.title ปัจจัยในการคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วนรถยนต์สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ th
dc.title.alternative Factors for Selecting the Automotive Industry Suppliers th
dc.type Thesis th
dc.degree.name การจัดการมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการอุตสาหกรรม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account