การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest posttest design) กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเอง เพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก : กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้นต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 154 คน โดยกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ในรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งมีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค (Cronbach alpha coefficient) เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติทดสอบที (t-test) ทดสอบความแตกต่างของสมรรถนะการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเอง เพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก: กรณีศึกษารายวิชา การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพ การตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก : กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลจากการประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก:กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้นต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเอง การเรียนรู้ที่่ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป
This study aimed to study the self-directed learning for clinical reasoning development : a case study of primary health care practicum course to primary health care practice competency in nursing students. Purposive sampling was used to recruit the sample. The were 154 of 4nd year nursing students who participated in primary health care practicum course. The instruments included primary health care practice competency in nursing students of study questionnaire with Cronbach's alpha coefficient .87. Descriptive statistic (percentage, mean, and standard deviation) was used to analyzed the data. The finding revealed that average scores of primary health care practice competency were high in nursing students. The results revealed that primary health care practice competency before and after participated in teaching-learning arrangement in primary health care practicum course was significantly different at .05 level. The self-directed learning for clinical reasoning development : a case study of primary health care practicum course to primary health care practice competency in nursing students should be applied for using in further teaching and learning courses.