การตรวจหายีนของแอนติเจนของเกล็ดเลือด (HPA genotyping) ได้อย่างถูกต้องและครบทุกระบบจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ neonatal alloimmune thrombocytopenic purpura (NAITP), platelet transfusion refractoriness (PTR) และ post-transfusion purpura (PTP) และการคัดเลือกผู้บริจาคเกล็ดเลือดที่มีชนิดของยีน HPA ที่ตรงกันให้แก่ผู้ป่วยในภาวะดังกล่าวจากงานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศไทยเคยมีรายงานการตรวจหายีน HPA เพียงระบบที่ 1 ถึง 6 เท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลการตรวจหาชนิดของยีนให้แก่ผู้ป่วยในภาวะดังกล่าวจากงานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศไทยเคยมีรายงานการตรวจหายีน HPA อีก 7 ระบบได้แก่ HPA- 7 ถึง 13 ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส โดยใช้ไพรเมอร์จำเพาะ จำนวน 23 เส้น ทำปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสกับดีเอ็นเออ้างอิงที่ทราบชนิดของยีน HPA- 7 ถึง 13- 7 ถึง 13 จำนวน 1 ราย และดีเอ็นเอตัวอย่างที่สกัดจากตัวอย่างเลือดผู้บริจาคเกล็ดเลือดของโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 40 ราย ผลการทดสอบพบว่าไพรเมอร์จำเพาะทั้ง 23 เส้น สามารถตรวจจับกับยีน HPA ของดีเอ็นเออ้างอิงและดีเอ็นเอตัวอย่างได้อย่างจำเพาะทั้ง 7 ระบบ โดยใช้สภาวะที่เหมาะสมของแต่ละระบบ ทำให้สามารถใช้อุณหภูมิในการทดสอบปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสที่เหมือนกันได้ถึง 6 ระบบ (ยกเว้น HPA- 8) และทำให้สามารถตรวจหายีน HPA- 7 ถึง 13 ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วภายในเวลา 3 ชั่วโมง การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้และพัฒนางานวิจัยของประเทศไทยต่อไป
Accurate and complete human platelet antigen (HPA) genotyping is important for patients with diagnosis of neonatal alloimmune thrombocytopenic purpura (NAITP) platelet transfusion refractoriness (PTR), post-transfusion purpura (PTP) and provision of HPA-matched blood components for these patients. In Thailand, previous reports have been developed only detection for HPA-1 to 6 genotyping without complete that system, To establish a practical procedure for HPA-7 to 13 genotyping, 23 specific primers were used for simultaneously HPA genotyping be PCR-SSP method. A total of 40 samples from unrelated volunteer donors in Ramathibodi hospital and known HPA-7 to 13 genotyping DNA references were included in this study. All PCR amplifications were carried out with identical cycling conditions, except for HPA-8. The results show that all primers can give products and the technique was completed within 3 hours. An extended, streamlined PCR-SSP protocol for simultaneous genotyping of HPA-7 to 13 was established to complete 13 systems. This method is rapid, simple, and useful for diagnosis and selecting compatible-HPA platelet donors for patients. This study is the first report in Thailand and should be considered for further use.