รายงานวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ให้บริการในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย วิเคราะห์ลักษณะและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนในทัศนคติของผู้ให้บริการในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสม โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ประชากร ได้แก่ ผู้ให้บริการในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้ให้บริการโรงแรมและที่พัก ภัตตาคารและร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในจังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 384 ราย สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติของผู้ให้บริการที่มีต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนด้านการเรียนรู้ คือ ไม่เข้าใจขนบธรรมเนียงประเพณีคนไทย ด้านพฤติกรรม คือ มักจะทำปฏิกิริยาสร้างความรำคาญให้แนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของนักท่องเที่ยวชาวจีน คือ ให้ความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมไทยแก่นักท่องเที่ยวผ่านทางหัวหน้าบริษัทนำเที่ยว และประชาสัมพันธ์เผยแพร่วัฒนธรรมไทยผ่านเว็บไซต์การท่องเที่ยวในไทย รวมทั้งจ้ดทำคู่มือส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเผยแพร่แก่นักท่องเที่ยว ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทัศนคติของผู้ให้บริการที่มีต่อนักท่องเที่ยวจีนด้านการเรียนรู้และพฤติกรรมในภาพรวมไม่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อแนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของนักท่องเที่ยวจีน พบว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจด้านวัฒนธรรมแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนมากที่สุด รองลงมา คือ ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และจัดทำคู่มือส่งเสริมความเข้าใจ ข้อค้นพบก็คือความแตกต่างของนักท่องเที่ยวชาวจีนในด้านระดับการศึกษาและภูมิลำเนาที่แตกต่างกัน ทำให้มีพฤติกรรมเชิงบวกแตกต่างกัน
This research aimed to study the attitude of service provider in tourism industry toward Chinese tourists to Thailand, analyze the styly and behavior of them in the opinion of tourism industry in supply chain service provider and to propose the appropriate positive behavior encourage guideline. This research design was conducted by using research methodology both qualitative and quantitative method. The research tools were questionnaire and interview to hotel, restaurant and guide in Samut Prakarn, Chonburi and Rayong provinces. The participants were 384 selected by using purposive samples technique from service provider, entrepreneurs. Both quantitative and qualitative data were analyzed by using descriptive statistics, frequency, percentage, mean and standard deviation and content analysis from questionnaires. The research results revealed that service provider's attiture toward Chinese tourists according to learning factor are lack of understanding in Thai custom, bahavior factor are annoying people. For the appropriate toward the positive behavior encourage of Chinese tourists are to give Thai culture understanding via guide tour leader and distribute Thai culture via tourist website. The hypothesis testing found that service provider's attribute toward Chinese tourist in learning and behavior factors overview are not different. The different comparative between the attitude average score toward the appropriate guideline to encourage positive bahavior of Chinese tourists found that both of men and female mostly agreed that it should be to give Thai cultural understanding and later web site public relation and finally to have understand promoting book. Finding results showed that Chinese tourist from different education level and place of birth make different positive behavior.